การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ ชุด "ตลาด" วิถีชุมชนคนปากน้ำโพ โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุภาพร ปรีดา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ ชุด “ตลาด” วิถีชุมชนคนปากน้ำโพ โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ ชุด “ตลาด” วิถีชุมชนคนปากน้ำโพ โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ ชุด “ตลาด” วิถีชุมชนคนปากน้ำโพ โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ของหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ ชุด “ตลาด” วิถีชุมชนคนปากน้ำโพ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านของผู้เรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.50/84.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ความ สามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
Research Articles

References

ภาษาไทย
กตญ มหาชนะวงศ์ สุวรรณแพทย์. (2561). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ เรื่อง Natural Resources for
Sustainable Development สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn
University, 11(2), 1233-1244.
กรมวิชาการ. (2545). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติพุทธศักราช 2542 แกไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยการใช้การสอนแบบ
E-Learning. (รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ทุนอุดหนุนการวิจัย), มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
กัณฑรี วรอาจ. (2557). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีความจริงเสมือน เรื่องประเทศสิงคโปร์ ผ่านไอแพด สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
จินตนา ใบกาซูยี. (2536). การเขียนสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
จุไรรัตน์ สุนันทราภรณ์. (2561). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด “เด็กท้องถิ่นไทยใส่ใจเรื่องดนตรี” สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ, 1(9), 483-493.
ชมัยภรณ์ บัวระบัดทอง. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค เพื่อ
ส่งเสริมความเข้าใจในการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 9(1), 67-78.
ธัญพร สายชมพู. (2557). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ร้อยกรองคำขวัญประจำท้องถิ่นประกอบการเรียนการสอนวิชา
ภาษาไทย สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์,
9(1), 27-33.
นราธิป เอกสินธุ์. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
นภัสนันท์ ไกรทอง. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
บัญชา อึ๋งสกุล. (2541). การเสริมสร้างการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน. วารสารวิชาการ.1(2), 63 -70.
ประนอม สุรัสวดี . (2539). กิจกรรมและสื่อการสอนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์. (2562). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2560-2562นครสวรรค์: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ)
นครสวรรค์.
หนูแพว วัชโศก. (2557). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดยำรวมมิตรสะกิดเศรษฐศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น สำหรับ
นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.
สมยศ นาวีการ. (2549). การบริหารและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.
สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์. (2561). ผลของการใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) ที่มีต่อการพัฒนาความ
สามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 175-186.
สารภี พงษ์พันธ์. (2557). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่,
เชียงใหม่.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). แนวคิดและเทคนิควิธีสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
แสงดาว ถิ่นหารวงษ์. (2559). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองเพชร เมืองตาลโตนด สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน, 1(6),
459-466.
อรพัทธ ศิริแสง. (2558). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ
MIA. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
อัจฉรา ธัญพืช. (2561). การใช้และการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชุด เรียนรู้กับหนูดี
เรื่อง การปฐมพยาบาล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(2), 77-87.
ภาษาอังกฤษ
Huck, C. S. (1961). Helper, Susan and Hickman, Janet. Children’s Literature in the Elementary School.
New York: Harcourt Brace Jovanovich.
Murdoch, G. S. (1986). A More Integrated Approach to the Teaching of Reading. English Teaching Forum, 34(1),
9-15.