การรับรู้ความเป็นองค์การนวัตกรรมของกำลังพลสังกัดกองทัพเรือ

Main Article Content

วาริชภูมิ พิพัฒพลกาย
วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์
กฤษณ์ รักชาติเจริญ
กมลพร สอนศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้ความเป็นองค์การนวัตกรรมของกำลังพล (2) ศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้ความเป็นองค์การนวัตกรรมของกำลังพลตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคของ     การรับรู้ความเป็นองค์การนวัตกรรมและแนวทางการสร้างการรับรู้เพื่อพัฒนาไปสู่องค์การนวัตกรรม มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กำลังพลนายทหารชั้นสัญญาบัตรและนายทหารต่ำกว่าสัญญาบัตร (ประทวน) ที่ปฏิบัติงานในกรมฝ่ายอำนวยการของกองทัพเรือจำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับการรับรู้ความเป็นองค์การนวัตกรรมของกำลังพล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample Mann-Whitney U Test (MU.) และสถิติ Kruskal Wallis Test (KW.) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ กำลังพลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างการรับรู้  ให้แก่กำลังพลสังกัดกองทัพเรือ จำนวน 3 คน  เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการรับรู้ความเป็นองค์การนวัตกรรมของกำลังพลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ผลการเปรียบเทียบระดับการรับรู้ความเป็นองค์การนวัตกรรมของกำลังพลตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ อายุราชการ ที่ต่างกันมีการรับรู้ความเป็นองค์การนวัตกรรมไม่ต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านประเภทกำลังพลที่ต่างกัน      มีการรับรู้ความเป็นองค์การนวัตกรรมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัญหา อุปสรรคของการรับรู้ความเป็นองค์การนวัตกรรม คือ กำลังพลขาดความรู้และทักษะการสร้างนวัตกรรม, การสื่อสารองค์การสร้างความเข้าใจ       ที่คลาดเคลื่อนระหว่างงานนวัตกรรมและงานวิจัย, การเปลี่ยนแปลงผู้นำหน่วยส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายของหน่วย, แผนงานด้านนวัตกรรมไม่ชัดเจน, และบรรยากาศการทำงานไม่เอื้อต่อกรอบการคิดแบบยืดหยุ่น ในส่วนของข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคือการสร้างการรับรู้ด้วยการส่งเสริมผู้บังคับบัญชาให้สามารถบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผู้นำหน่วยและเป็นส่วนสำคัญในการสร้างและพัฒนาศักยภาพกำลังพล

Article Details

บท
Research Articles

References

กองทัพเรือ. (2557). นโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพมหานคร: กองทัพเรือ.

กองทัพเรือ. (2561). นโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพมหานคร: กองทัพเรือ.

กันยา สุวรรณแสง. (2544). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: อักษรพิทยา.

เกษสุดา บูรณศักดิ์สถิต. (2562). พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

จำเนียร ช่วงโชติและคณะ. (2523). จิตวิทยาการรับรู้และการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชฎารัตน์ ฤทธิรุตม์. (2560). การรับรู้ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงานธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี, สุราษฏร์ธานี.

ดารา ทีปะปาล. (2542). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

ปิยมาศ อัศวพรชัย. (2546). การรับรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานทางอ้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

ปัทมา ศรีมณี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมระดับบุคคล: กรณีศึกษา พนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่) (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

แพมาลา วัฒนเสถียรสินธุ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ยูไนเต็ด แสตนดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

รพีพัฒน์ ศรีศิลารักษ์, และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). การรับรู้ บรรยากาศองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี

ขององค์การ ของพนักงานประจำสังกัดสายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรม องค์การ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสารธุรกิจปริทัศน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 61-84.

รัตน์มณี สุยะใจ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในยุคประเทศไทย 4.0 ของกองทัพบก. Veridian E-Journal, 11(1), 3210-3227

รุ่งรัชดา เวหะชาติ. (2548). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์กรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วรุณรัตน์ ขันติธีระโฆษิต. (2552). การรับรู้ของข้าราชการตำรวจต่อร่างพระราชบัญญัติตำรวจ พ.ศ... (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

วีระชัย วุฒิพงศ์ชัยกิจ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้นโยบายองค์การ กรณีศึกษา บริษัทเอสซีจี แพกเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

วุฒิพงษ์ ภักดีเหล่า. (2554). คุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัล ด้านนวัตกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). การพัฒนานวัตกรรมในองค์กร. เข้าถึงได้จาก https:// www.sasimasuk.com/innovation-in -organization.

สนธิ ไสยคล้าย. (2556). ภาวะผู้นำและองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยบริการ, 24(2), 43-60.

สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์.(2555). การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้: แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม. วารสาร

วิทยบริการ, 23(1), 28-29

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2549). หลักการตลาด (สมัยใหม่). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ ยอดสละ. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560) . ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/article/4._rabbraachkaaraithyainbrthaithyaelnd-4-0.pdf

อุรารัตน์ ทองสัมฤทธิ์. (2554). การรับรู้แนวคิดการจัดการความรู้ของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, กรุงเทพมหานคร.

เอกสิทธิ์ จงเสรีเจริญ. (2558). การรับรู้ของข้าราชการต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 กรณีศึกษา กองพันทหารราบในกองพลทหารราบที่ 9 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

Hurley, R,F.,& Hult, G. T. M. (1998). Innovation, market orientation and organizational learning: An integration and empirical examination. Journal of Marketing, 62, 42-54.

Kiziloglu, M. (2015). The effect of organizational learning on firm innovation capability: An investigation in the banking sector. Global Business and Management Research, 7(3), 17-33.