ความสัมพันธ์ระหว่างการบ้างานและความสำเร็จในอาชีพของพนักงาน ในบริษัทประกันวินาศภัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบ้างาน และความสำเร็จในอาชีพของพนักงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบ้างาน และความสำเร็จในอาชีพของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นพนักงานในบริษัทประกันวินาศภัยรวมจำนวน 460 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานบริษัทประกันวินาศภัย เขตกรุงเทพมหานคร มีการบ้างานอยู่ในระดับมาก และมีความสำเร็จในอาชีพอยู่ในระดับมากเช่นกัน 2) การบ้างานโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสำเร็จในอาชีพของพนักงานบริษัทประกันวินาศภัย เขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.611) โดยการบ้างานด้านการเรียกร้องผลการปฏิบัติงาน ด้านการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ด้านบทลงโทษจากความผิดพลาดในการทำงาน และด้านอำนาจและความสามารถในการควบคุมงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสำเร็จในอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.486 , r=.536 , r=.475 และ r=.491 ) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรองกาญจน์ ด่านรัตนะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้ความสามารถของ ตนเอง และการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพของกลุ่มชายรักชาย ที่เป็นบุคลากรในหน่วยงานรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
เจณิกา วังสถาพร. (2555). การติดงานและความผูกใจมั่นในงาน : สาเหตุเชิงแรงจูงใจ และผลด้านความเหนื่อยหน่ายในงาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ณัฐชนันท์พร ทิพย์รักษา. (2556). จูงใจในการทำงาน ความบ้างาน และความสุขในการทำงาน (วิทยานิพนธ์ ปริญญา มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ธันยวงศ์ เศรษฐ์พิทักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและเป็นโรค คอมพิวเตอร์ซินโดรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2552). ความสำเร็จของอาชีพผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ปณีชี พัฒนพงศ์สีริกุล. (2550). ธุรกิจประกันวินาศภัยสมัยใหม่ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: เฮาส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
มาริสสา อินทรเกิด. (2560). การบริหารจัดการคนเก่งความท้าทายขององค์การ. วารสาร ธุรกิจปริทัศน์. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 1(9), 279-289.
วรรณภา ชำนาญเวช. (2551). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำงานของพนักงานธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. (2561). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะติดงานของพยาบาลในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2550). 10 อันดับบริษัทประกันภัยยอดนิยม ตามทุนจดทะเบียน. สืบค้นจาก https://www.oic.or.th/th/about/oic-act
Burke, R.J. (2001). Workaholism in organizations: the role of organizational values. Personnel Review. 30(6), 637-645.
Butucescu, A. and Uscatescu, L. C. (2013). What Does The Romanian Workaholic Look Like? A First Glimpse into The Links between Workaholism and Employee Characteristics ; A Validation Attempt of DUWAS Scale .Psychology Reassurer Unman, 11(1), 17-32.
Cox, C. J. and Cooper, C. L. (1989). The Making of The British CEO : Childhood, Work Experience, Personality and Management Style. Academy of Management Executive, 3(3), 241-245.
Gattiker, E. and Larwood, L. (1986). Subjective Career Success: A Study of Manager and Support Personnel. Journal of Business and Psychology, 1, 78-94.
Hewlett, S. A. H. and Luce, C.B. (2006). Extreme Jobs The Dangerous Allure of the 70-Hour Work week. Harvard Business Review. 2(3), 49-57.
Horton, T. E. (2011). Workaholism and Employee Well-Being. Retrieved from http://researchcommons. waikato.ac.nz/bitstream /handle/10289/5758/thesis.pdf?sequence=3
Jimmie, G. (2019). Disadvantages from An Excessive Workaholic. Working People must Read. Retrieved from https://laderasy stems.com/%E0%B8%82%E0
Kittisuksatit, S., et al. (2013). Quality of life the work and Joy. Bangkok : Thammada Press.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Ng,T.W.H., Sorensen, K.L., and Feldman, D.C. (2007). Dimensions, Antecedents, and Consequences of Workaholism: A Conceptual Integration and Extension. Journal of Behavioral, 28, 11-36.
Schaufeli, W. B. and Bakker, A. B. (2006). The Measurement of Short Questionnaire: A Cross-National Study. Educational and Psychological Measurement, 66(4), 701-716.
Scott, K. S., Moore, K. S. and Miceli, M. P. (1997). An Exploration of The Meaning and Consequences of Workaholism. Human Relations, 50(3), 287-314.
Shimazu, A., Schaufeli, W. B., Kamiyama, K., & Kawakami. (2015). Workaholism vs. Work Engagement: The Two Different Predictors of Future Well-being and Performance. Journal of Behavioral Medicine, 22, 18-23.
Spence, J. T., and Robbins, A. S. (1992). Workaholism: Definition, Measurement and Preliminary Results. Journal of Personality Assessment, 58(1), 160–178.
Tabassum, A., and Rahman, T. (2012). Gaining The Insight of Workaholism, Its Nature and its Outcome: A Literature Review. International. Journal of Research Studies in Psychology, 2(2), 81-29.
Van Wijhe, C., Peeters, M., and Schaufeli, W. (2013). Irrational Beliefs at Work and Their Implications for Workaholism. Journal of occupational rehabilitation, 23(3), 336-346.