การศึกษาเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

Main Article Content

ปนิษฐา เรืองปัญญาวุฒิ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และสร้างเกณฑ์สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ทั้งหมดจำนวน 11,484 คน การหาขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จากการเปิดตารางของ Taro Yamane ได้เท่ากับ 422 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไปของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประกอบด้วย 1 สัดส่วนของร่างกายรายการทดสอบ ดัชนีมวลกาย และสัดส่วนรอบเอว/รอบสะโพก 2 ความแข็งแรงและอดทนของระบบกล้ามเนื้อ รายการทดสอบ นอนยกตัวขึ้น 1 นาที และดันพื้น 1 นาที 3 ความอ่อนตัว รายการทดสอบ การนั่งงอตัว 4 ความอดทนระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต รายการทดสอบ ก้าว ขึ้น – ลง 3 นาที จากการวิจัยพบว่าสมรรถภาพทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพทั้งชายและหญิง ต่ำกว่าบุคคลทั่วไปตามช่วงอายุ อาจเกิดจากสาเหตุที่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น  ทางมหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้นักศึกษาหันมาสนใจการออกกำลังกายให้มากขึ้น โดยจัดสถานที่การออกกำลังกายให้กับนักศึกษาหรือ จัดตารางเรียนในรายวิชาพลศึกษาให้กับนักศึกษาทุกคนเป็นรายวิชาบังคับเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้  ความเข้าใจในการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมพลศึกษา. (2543). กิจกรรมการทดสอบและสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

จิรานุวัฒน์ คำปลิว. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติและพฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับนันทนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การสอนกีฬา: Science of Coaching. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสิทธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์.

ทักษิกา ชัชวรัตน และคณะ. (2561). พฤติกรรมสุขภาพของวัยรุน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา,19(3), 107-120.

ยุพา พูนขำ และคณะ. (2553). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาสุขภาพเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2552). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวมบทความเกี่ยวกับ ปรัชญา หลักการวิธีการสอนและการวัดประเมินผลทางพลศึกษา (พิมพ์ ครั้งที่1) กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิริยา บุญชัย. (2539). การทดสอบและวัดผลทางพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

รัฐพันธ์ กาญจนรังสรรค์. (2548). การทดสอบสมรรถภาพ. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุชาติ โสมประยูร และสุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. (2543). สุขภาพเพื่อชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

สุภาวดี สมจิตต์ และนันทนา น้ำฝน. (2556). ภาวะสุขภาพของวัยรุ่นตอนต้น เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 21 (1), 55-63.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพและนันทนาการ. (2539). การศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนมัธยมศึกษาระดับอายุ 16 –18 ปี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. (2560). ข้อมูลนักศึกษาปัจจุบันประจำปีการศึกษา 2560. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

Pandey, A. A., et al. (2017). Fitness in Young Adulthood and Long-Term Cardiac Structure and Function. JACC Journal, 5(5), 347-355. Retrieved from http://heartfailure.onlinejacc.org/content/5/5/347 .abstract

Zhu, Z., Yang, Y., Kong, Z., Zhang, Y. & Huang, J. (2017). Prevalence of physical fitness in Chinese school-aged children: Findings from the 2016 Physical Activity and Fitness in China. Journal of Sport and Health Science, 6(4), 395-403. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/ article/pii/ S2095254617301138

Eather, N., Morgan, P.J. & Lubans, D.,R. (2016). Improving health-related fitness in adolescents: the CrossFit Teens™ randomised controlled trial. Journal of Sports Sciences, 34(3), 209-223. Retrieved from https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/02640414.2015.1045925?scroll=top&needAccess =true

Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.