แนวทางการจัดการเรียนการสอนขับร้องเพลงสมัยนิยม และการเตรียมความพร้อม สำหรับการประกวดร้องเพลงสมัยนิยมในเด็กอายุ 6-8 ปี

Main Article Content

พลอยแพรว นุกิจรังสรรค์
นิอร เตรัตนะชัย
นัทธี เชียงชะนา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนขับร้องสำหรับการประกวดร้องเพลงสมัยนิยมในเด็กอายุ 6-8 ปี 2) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกวดร้องเพลงสมัยนิยมในเด็กอายุ 6-8 ปี และ        3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสอนขับร้องและการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกวดร้องเพลงสมัยนิยมในเด็กอายุ 6-8 ปี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลจากอาจารย์สอนขับร้องที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือก ทั้งสิ้น   5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนขับร้องเพลงสมัยนิยมสำหรับการประกวด ผู้สอนได้นำเอาประสบการณ์ในการสอนมาพัฒนา และประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักสูตรการสอนขับร้องต่างๆ ประกอบด้วย เนื้อหา 2 ส่วน คือ เนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิคการขับร้องพื้นฐาน และเนื้อหาเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์เฉพาะตัว 2) การเตรียมความพร้อมสำหรับการประกวด          การฝึกซ้อม การสะสมประสบการณ์ในการแสดงบนเวที และการดูแลสุขภาพ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในการประกวด และ 3) แนวทางการจัดการเรียนการสอนขับร้อง และการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกวด ผู้สอนคัดเลือก         บทเพลงให้เหมาะสมกับผู้เรียน และควรแนะนำแนวทางในการฝึกซ้อมให้ชัดเจน พร้อมทั้งสื่อสารกับผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน และควรจัดการแสดงบนเวทีต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้สะสมประสบการณ์ในการขึ้นแสดงบนเวที

Article Details

บท
Research Articles

References

ชัยพร พวงมาลี. (2560). การแสดงขับร้องเดี่ยวโดยชัยพร พวงมาลี. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: แดเน็ตซ์ อินเตอร์คอเปอร์เรชั่น.

ณัฐธัญ อินทร์คง. (2559). พัฒนาการ ลักษณะเฉพาะ และองค์ความรู้ของการขับร้องเพลงไทยสากล (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์ (2555). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 9 ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุษฎี พนมยงค์. (2547). สานฝันด้วยเสียงเพลง มาฝึกร้องเพลงกันเถิด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บ้านเพลง.

ดวงใจ อมาตยกุล. (2545). วรรณคดีเพลงร้อง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนพร แวกประยูร. (2557). การสำรวจการประกวดร้องเพลงสมัยนิยมระหว่างปี พ.ศ. 2519-2530: กรณีศึกษาเวทีการประกวดนักร้องสมัครเล่นยอดเยี่ยมแห่งเอเชียและเวทีการประกวดร้องเพลงของสยามกลการมิวสิคฟาวเดชั่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

นฤมล สุ่นสวัสดิ์. (2558). การตั้งเป้าหมายของชีวิตและการทำงาน. วารสารสารสนเทศ, 14(2). 21-36.

ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 10(2), 1856-1867.

สกาวรุ้ง สายบุญมี. (2555). การศึกษากระบวนการเตรียมนักเรียนเข้าแข่งขันเปียโน กรณีศึกษา การแข่งขันรุ่นเล็กงาน ยามาฮ่า ไทยแลนด์ มิว สิค เฟสติวัล (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. ในบทที่ 8 เครื่องมือวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล. สืบค้นจาก http://pws.npru.ac.th/pheerathano/data/files/ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.pdf

วรรณี เพลินทรัพย์. (2554). ศึกษาวิธีการขับร้องของ ทิพย์วัลย์ ปิ่นภิบาล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

วรัญญา ศรีวรบุตร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซ้อมดนตรีของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 (หน้า 83-93). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อนุตรี เจตนเมษฐ์. (2554). การสอนวิชาขับร้องโดยใช้เทคนิค Speech Level Singing (SLS): กรณีศึกษา แกรมมี่ ครูโรจน์ โวคอล สตูติโอ (GRVS) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

Fields, V. A. (1950). Training the Singing Voice (3rd ed.). New York: King’s Crown Press.

Marsh, C. J. (2006). Key concepts for understanding curriculum (3rd ed.). New York: RoutledgeFalmer.

Nainapat, P. (2016). Reality. Retrieved from https://thematter.co/seghfjhrave/why-reality-so-strong/9123

Oare, S. (2011). Practice Education: Teaching Instrumentalists to Practice Effectively. Music Educators Journal, 97(3), 41-47. doi:10.1177/0027432111400006

Peckham, A. (2000). The Contemporary Singer. California : Berklee Press.

Pedrick, D. (1998). Effective Practice Makes Successful Performance. Music Educators Journal, 85(2), 33-35. doi:10.2307/3399170

Stafford, K. (2006). The Music Education Madness Site Private Lesson PR: Preparing for Performances. Retrieved from http://www.musiceducationmadness.com/ performances.shtml

Stohrer, S. (2006). The Singer’s Companion. New York: Routledge.

Thummarattana, P. (2015). Effective contemporary commercial music vocal training for Thai singers (Unpublished Doctoral Thesis). Mahidol University, Thailand.

Tyler, R. W. (2013). Basic Principles of Curriculum and Instruction with a Foreword by Peter S. Hlebowitsh. Chicago: The University of Chicago Press, Ltd.