คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ภูริตา แซ่ตั้ง
นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
โพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 2 ) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 321 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนผู้สูงอายุ และผู้บริหารองค์กkรบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-70 ปี ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท อาศัยอยู่กับครอบครัวของบุตร และมีโรคประจำตัวสูงถึง ร้อยละ78.5 ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนคปฐม จังหวัดนครปฐม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านร่างกาย ตามลำดับ  แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พบว่า ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเรื่องสุขภาพ การจัดกิจกรรมนันทนาการ การให้ความรู้เรื่องการบริโภค มีการจัดกิจกรรมทางศาสนา การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ การจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมให้กับผู้สูงอายุสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัยในชุมชน สนับสนุนผู้สูงอายุที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ เข้ารับตำแหน่งต่างๆ ของชุมชน จัดโครงการเสริมสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของชุมชน ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมอนามัย. (2553). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). รายงานการศึกษาเรื่องทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ณัฏฐา ณ ราช. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ดวงใจ คำคง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, พัทลุง.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2539). สถิติวิจัย 1 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: พี.เอ็น.การพิมพ์.

มณัฐกร คงทอง. (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชุมชนริมทางรถไฟภายในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

มันโซร์ ดอเลาะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้กรณีศึกษา ตําบลบาละ อําเภอกาบัง จังหวัดยะลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.

วิไลพร ขําวงษ์, จตุพร หนูสวัสดิ์, วรารัตน์ ประทานวรปัญญา และจิดาภา ศิริปัญญา. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 32-40.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

สอาด กาดีโลน. (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สายโสม วิสุทธิยานนท์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพมหานคร.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, (2563). จำนวนประชากร. สืบค้นจากhttps://stat.bora.dopa.go.th/new_ stat/webPage/statByYear.php

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2540). เปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของ WHO 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

สุนันทา คำบุญเรือง. (2559). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

WHOQOL Group. (1996). WHOQOL-BREF Introduction Administration Scoring and Generic Version of the Assessment. Geneva: WHOQOL Group.