ความคาดหวังในการใช้ประโยชน์ของกัญชาที่ส่งผลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากมุมมองนักท่องเที่ยวชาวไทยเจเนอเรชั่นซี กรณีศึกษา : จังหวัดปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังในการใช้ประโยชน์ของกัญชาที่ส่งผลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จากมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทยเจเนอเรชั่นซี กรณีศึกษา : จังหวัดปราจีนบุรี ทั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย โดยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .943 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผ่านทางออนไลน์โดยสื่อสังคมออนไลน์ จำนวนทั้งสิ้น 390 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคาดหวัง ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการให้บริการ อยู่ในระดับมีความคาดหวังมาก ซึ่งด้านกระบวนการให้บริการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และมีความตั้งใจมาก ที่จะท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ส่วนผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระดับความคาดหวังกับความตั้งใจมีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวก แสดงถึงความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้เกิดความตั้งใจเพิ่มขึ้น และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหารูปแบบสมการพยากรณ์ ความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พบว่า ความคาดหวัง ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว และ ด้านลักษณะทางกายภาพ ส่งผลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ต้นแบบกัญชาครบวงจรอภัยภูเบศรอนาคตที่น่าทึ่ง สืบค้นจากhttps://www.bangkokbiznews.com/social/927279 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564
จีณัสมา ศรีหิรัญ, กมนภา หวังเขื่อนกลาง, รวิภา ในเถา, และสมศักดิ์ ตลาดทรัพย์. (2563). การจูงใจนักท่องเที่ยวเจนเนอเรชันแซดด้วยองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว เพื่อเข้าร่วมประเพณีฮีตสิบสองในจังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 5(1), 32-50.
ไทยรัฐออนไลน์. (2564). สายเขียวอย่าเข้าใจผิด ปลดล็อคกัญชา-กัญชง ออกจากยาเสพติดแค่บางส่วน. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/local/1996311 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 18. นนทบุรี: บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสก์ โปรดักส์ จำกัด.
พัฒน์ธีรา พันธราธร, กีรติ พลดอน. (2564). การรับรู้ของนักท่องเที่ยวไทยกลุ่มมิลเลนเนียล หรือกลุ่มเจ็นเอ็มในประเทศไทยที่มีต่อแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(1), 89-104
มติชนออนไลน์. (2564). ไปกินกัญ รพ.อภัยภูเบศร เปิด 4 เมนูเด็ดจากกัญชาเปิดให้ชิมทุกวัน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2522056 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564
ฤทธิ์เจตน์ รินแก้วกาญจน์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และปัจจัยด้านการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(1), 92-106.
Albattat Ahmad, Azizul Jamaludin, Nini Shaliza Mohd Zuraimi, and Marco Valeri. (2020). Visit intention and destination image in post-Covid-19 crisis recovery. Current issues in tourism, 24(17), 2392-2397
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum
Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing Management. (15th global edition) Edinburgh: Pearson Education.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of retailing, 64, 12-40.
Quang Hung Do, Thi Hai Anh Vu. (2020). Understanding consumer satisfaction with railway transportation service: An application of 7Ps marketing mix. Management Science Letters, 10(1), 1341-1350.
Sandra Brkanli´, Javier Sánchez-García, Edgar Breso Esteve, Ivana Brki´c, Maja Ciri´, Jovana Tatarski, Jovana Gardaševi´c, and Marko Petrovi´. (2020). Marketing Mix Instruments as Factors of Improvement of Students’ Satisfaction in Higher Education Institutions in Republic of Serbia and Spain. Sustainability, 12,7802. 1-16.
Strauss, W., & Howe, N. (1991). Generations: The History of America’s Future. New York, NY: William Morrow and Company, Inc.
Schroer, W. J. (2008, March/April). Generations X, Y, Z and the others. The Portal, 40, 9. Retrieved from http://iam.files.cms-plus.com/newimages/portalpdfs/2008_03_04.pdf
Vroom, H Victor. (1964). Work and Motivation. Now York: Wiley and Sons Inc.