การศึกษากลไกทางจิตและปัจจัยที่พยากรณ์รูปแบบการใช้กลไกทางจิตของนักเรียนวัยรุ่น ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น การวิจัยเชิงปริมาณ    มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการใช้กลไกทางจิต บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู และการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู และการเห็นคุณค่าในตนเอง กับรูปแบบการใช้กลไกทางจิตของนักเรียนวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษจังหวัดชลบุรี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยากรณ์รูปแบบการใช้กลไก  ทางจิตของนักเรียนวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษจังหวัดชลบุรี 


วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างคำถาม ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษจังหวัดชลบุรี ทั้งหมด 9 โรงเรียน จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู การเห็นคุณค่าในตนเอง และรูปแบบการใช้กลไกทางจิต ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น


ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ คือ ปัญหาด้านการเรียนในและนอกห้องเรียน การปรับตัวกับกลุ่มเพื่อน ครอบครัว ตัวผู้สอน และสุขภาพโดยทั่วไป นักเรียนวัยรุ่นส่วนใหญ่ แก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยการปรึกษาเพื่อน อาจารย์ และ    ทำกิจกรรมให้ผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ นอนเล่น เล่นกีฬา รับประทานอาหาร เป็นต้น ตรงกับรูปแบบกลไกทางจิตแบบมีวุฒิภาวะ และชนิดการเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่น


 ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) นักเรียนฯ มีระดับการใช้กลไกทางจิต บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และการเห็นคุณค่าในตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการอบรมเลี้ยงดู 3 รูปแบบ อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ แบบเข้มงวดกวดขันแบบประชาธิปไตย และแบบผสมผสานประเภทการเลี้ยงดูในลักษณะประชาธิปไตยแบบละเลย สำหรับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูอีก 3 รูปแบบอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ แบบทอดทิ้งหรือปล่อยปละละเลย แบบรักตามใจ และแบบผสมผสานประเภทการเลี้ยงดูในลักษณะเข้มงวดกวดขันแบบละเลย 2) ปัจจัยด้านบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบหวั่นไหวทางอารมณ์มีด้านเดียว ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับรูปแบบการใช้กลไกทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยด้านการอบรมเลี้ยงดูทุกรูปแบบ   มีความสัมพันธ์ทางบวกกับรูปแบบการใช้กลไกทางจิต ปัจจัยด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์ทางลบกับรูปแบบการใช้กลไกทางจิต 3) ปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์รูปแบบการใช้กลไกทางจิต ได้แก่ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบผสมผสานประเภทรูปแบบการเลี้ยงดูในลักษณะเข้มงวดกวดขันแบบละเลย (R=.425) บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ (R=.448) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบรักตามใจ (R=.470) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน (R=.487) และรูปแบบการอบรม เลี้ยงดูแบบผสมผสานประเภทรูปแบบการเลี้ยงดูในลักษณะประชาธิปไตยแบบละเลย (R=.498) พยากรณ์ได้ร้อยละ 24.8   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01

Article Details

บท
Research Articles

References

กฤติกา หล่อวัฒนวงศ์. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกตามแนวคิดห้าองค์ประกอบ เชาวน์อารมณ์ตามแนวคิดโกลแมน และความพึงพอใจในลักษณะงานของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายขายของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

เกศรินธร ทารี. (2556). อิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูต่อความคาดหวังในบทบาทของบิดาของนิสิตชายมหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ชลลดา ทวีคูณ. (2556). เทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ดุลยา จิตตะยโศธร (2552) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู: แนวคิดของ Diana Baumrind’s Parenting Styles. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 173-187.

นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. (2542). ความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิต, ความเครียดและสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์. (2555). ความพลิกผันทางการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวชนบท. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 5(1), 83-97.

เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์. (2561). รูปแบบการใช้กลไกทางจิต: โลกแห่งจิตมนุษย์. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์11(2), 113-126.

ปัณณ์วิชญ์ จาตุกัญญาประทีป. (2558). การพัฒนาเครื่องมืดวัดการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองตามการรับรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามแนวคิดการอบรมเลี้ยงดูของ Schaefer (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

พิชญา นาวีระ. (2557). การศึกษาคุณสมบัติการวัดของเดอะ ดีเฟนซ์ สไตล์ เควสชั่นแนร์ 60 ฉบับภาษาไทย. โครงการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิชิตพงษ์ อริยะวงศ์. (2545). กลไกทางจิตและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเยาวชนที่ถูกจับเนื่องจากเสพยาบ้า. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 10(1), 20-29.

โมไณย อภิศักดิ์มนตรี. (2558). กลวิธานในการป้องกันตัวของผู้บริหารสถานศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

รัชนี ฉลองเกื้อกูล. (2551). ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการใช้กลไกป้องกันทางจิตของเด็กที่ถูกทารุณกรรม. วารสาร สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 16(2), 78-. 89.

เรขา ดุลยรัตน์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การจัดกระบวนการกลุ่มการจัดการเกี่ยวกับการสอนกับพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในห้องเรียนของนักเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.

วารุณี แก้วบุญเรือง. (2557). ความสัมพันธ์ของรูปแบบความผูกพัน การเห็นคุณค่าในตนเอง และการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุวรรณี พุทธิศรี และชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2541). การพัฒนาแบบสอบถาม The five-scale test of self-esteem for children ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 43(4), 358-367.

สุวรี ศิวะแพทย์. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Andrews, G., Pollock, C., & Stewart, G. (1989). The determination of defense style by questionnaire. Archives of General Psychiatry, 46, 455-460.

Bigner, J.J. (1994). Individual and Family Development: A Life-span interdisciplinary approach. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Branden, N. (1983). Honoring the self: the psychology of confidence and respect. Toronto: Bantan Book.

Coopersmith, S. (1981). SEI: Self-esteem Inventories. Palo Alto, California: Consulting Psychologists Press. Costa, P. T. Jr., & McCrae, R. R. (1992). Revised neo personality inventory and neo-five factor inventory: Professional manual. Psychological Assessment, 4, 5-13.

Darley, J. M., Glucksberg, S., Kamin, L.J., & Kinchla, R. A. (1991). Psychology (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Freud, A. (1979). The Ego and the mechanisms of defense. New York: International University Press.

Howard, P.J. & Howard, J.M. (2004). The Big Five Quickstart: An Introduction to the Five Factor Model of Personality. North Carolina: Center for Applied Cognitive Studies.

Palladino, C. D. (1994). Developing Self-esteem: A Guide for Positive Success (2nd ed.). California: Crisp. Palmore.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Haper and Row Publishers, Inc.