ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รวิพรรณ จารุทวี
ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย
ชาญ รัตนะพิสิฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ และทำนายพฤติกรรมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เจตคติที่มีต่อการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ และความร่วมรู้สึก และปัจจัยทางสังคม         ซึ่งได้แก่ อิทธิพลจากตัวแบบ และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน ซึ่งมาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ได้ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทั้งนี้ ยังพบ    ตัวแปรที่สำคัญในการทำนายพฤติกรรมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ 4 ตัวแปร คือ เจตคติที่มีต่อการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ ความร่วมรู้สึก การได้รับตัวแบบจากครอบครัว และการได้รับตัวแบบจากเพื่อน

Article Details

บท
Research Articles

References

กชกร บุญยพิทักษ์สกุล และพิชญาณี พูลพล. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

กนกวรรณ แก่นนาคำ และปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองสูงอายุเพื่อส่งเสริมความเข้าใจผู้อื่นในเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

กรรณิการ์ พันทอง, นันทา สู้รักษา และองอาจ นัยพัฒน์. (2550). การศึกษาและพัฒนาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนวัยรุ่น (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

กองสถิติเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กุลนารี เสือโรจน์ และสมสุข หินวิมาน. (2556). พฤติกรรมการสื่อสารของวัยรุ่นในพื้นที่สาธารณะบนเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

คันธิรา ฉายาวงศ์ และรุ้ง ศรีอัษฎาพร. (2555). การสื่อสารที่ไม่สร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ฆีร อักษรทิพย์ และฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ. (2561). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรังแกผ่านพื้นที่ไซเบอร์ของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

จินตนา ตันสุวรรณนนท์, ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ และชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย. (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อด้วยปัญญาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 16(1), 122-135.

เจษฎา อังกาบสี. (2561). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: แดเนกซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย และชาญ รัตนะพิสิฐ. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนาของวัยรุ่นตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 20(2), 171-187.

ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล, ดุษฎี เจริญสุข และวรชัย วิริยารมภ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิดของวัยรุ่นตอนกลาง ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ณัฐกาญจน์ กอมณี, ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย และวิธัญญา วัณโณ. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ทัศนีย์ สุริยะไชย และนิยะดา จิตต์จรัส. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเองกับการร่วมรู้สึกในวัยรุ่น (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ธนพัทธ์ จันท์พิพัฒน์พงศ์ และอังศินันท์ อินทรกำแหง. (2559). ปัจจัยภายในบุคคลและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กด้วยปัญญาของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

นพรุจน์ อุทัยทวีป และเสรี ใหม่จันทร์. (2560). ผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวคิดของโรเจอร์สที่มีต่อการเข้าถึงใจของนักศึกษามหาวิทยาลัย (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นุชรีรัตน์ ขวัญคำ และกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2550). รูปแบบการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.

ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร. (2530). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี จ้อยรอด, ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และประทีป จินงี่. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

พัชนี เชยจรรยา, เมตตา วิวัฒนานุกูล และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2541). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

พนารัตน์ พรมมา, สุวพร เซ็มเฮง และละเอียด รักษ์เผ่า. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

พลรพี ทุมมาพันธ์, ดุษฎี โยเหลา, สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา และวินัย ดำสุวรรณ. (2554). ผลการใช้โปรแกรมกำกับตนเองร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมของครูที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริง (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

พิรงรอง รามสูต. (2558). "ประทุษวาจา" กับโลกออนไลน์. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา(โครงการจัดพิมพ์คบไฟ).

ภาณุวัฒน์ กองราช และกมลพรรณ โอฬาพิริยกุล. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

รวิตา ระย้านิล และจรุงกุล บูรพวงศ์. (2553). อิทธิพลของรูปแบบความผูกพันต่อลักษณะนิสัยการให้อภัย: ทวิโมเดลแข่งขันโดยมีตัวแปรการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่นและการหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

วรวรรณ บุญเดช, เสกสรรค์ ทองคำบรรจง และชวลิต รวยอาจิณ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

วลัยรัตน์ วรรณโพธิ์, ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และประณต เค้าฉิม. (2545). ผลการใช้กิจกรรมฝึกความรู้สึกไวที่มีต่อการร่วมรู้สึกของเด็กวัยเริ่มรุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

วันวิสา สรีระศาสตร์, งามตา วนินทานนท์ และนำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านสถานการณ์ทางสังคม และการมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

สมทรง ตันประเสริฐ, อารี พันธ์มณี และกมลรัตน์ กรีทอง. (2544). การเปรียบเทียบผลของการใช้สถานการณ์จำลองและการใช้ตัวแบบที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันการล่วงเกินทางเพศของนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

สรียา โชติธรรม และอภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช. (2553). อิทธิพลตัวแปรส่งผ่านของการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่น และอิทธิพลตัวแปรกำกับของเพศต่ออิทธิพลการสนับสนุนจากครอบครัวและสภาพการแข่งขันทางการเรียนต่อความก้าวร้าวและการช่วยเหลือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2548). เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมวัยรุ่น = Adolescent Behavior (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุชา จันทน์เอม. (2544). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). นักศึกษารวม 2563 ภาคเรียนที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด จำแนกตาม สถาบัน/กลุ่มสถาบัน/เพศ/ระดับการศึกษา/คณะ/ชื่อสาขาวิชา/(จังหวัดที่ตั้งสถาบัน). สืบค้นจาก http://www.info.mhesi.go.th/newinfo/stat_std_all.php

อุสา สุทธิสาคร. (2559). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

The Flight 19 Agency. (2563). สรุป จำนวนผู้ใช้งาน อายุ % ชายหญิงของ social media platform ตัวท็อปของเมืองไทย. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/twfdigital/photos/a.440533022773/10158315530587774

Bandura, A. (1989). Social cognitive theory. In R. Vasta (Ed.), Annals of child development. Vol. 6. Six theories of child development. Greenwich, CT: JAI Press.

Connors, J. V. (2013). Constructive communication. Retrieved from https://www.academia.edu/4148355/ Constructive_Communication

Egan, G. (1994). The skilled helper: A problem-management approach to helping (5th ed.). Pacific Grove, CA: Brooks/Cole.

Erikson, E. H. (1963). Childhood and society (2nd ed.). New York, USA: W. W. Norton & Company.

Erikson, E. H. (1968). Identity, youth and crisis. New York, USA: W. W. Norton & Company.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buncher, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York, USA: Bantam Books.

Goleman, D., & Ekman, P. (2007). Three kinds of empathy: cognitive, emotional, compassionate. Retrieved from http://www.danielgoleman.info/three-kinds-of-empathy-cognitive-emotional-compassionate/

Hood, J. N., Jacobson, R. P., & Jacobson, K. J. L. (2017). The impact of self-esteem and empathy on the relationship between workplace bullying and attachment style. Review of Integrative Business & Economics Research, 6(4), 104-118.

Hurlock, E. B. (1968). Developmental psychology (3rd ed.). New York, USA: McGraw-Hill.

Suler, J. (1999). To get what you need: Healthy and pathological internet use. CyberPsychology and Behavior, 2, 385-394.

Thomson, K. (n.d.). Social psychology. Retrieved from https://slideplayer.com/slide/13737357/

Valkenburg, P. M., Schouten, A. P., & Peter, J. (2005). Adolescents' identity experiments on the internet. New Media Society, 7(3), 383-402.