ผลของโปรแกรมการฝึกบริหารกายวันละ 10 นาที ต่อสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพสำหรับคนทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินในสำนักงาน

Main Article Content

เติมเพชร สุขคณาภิบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมการฝึกบริหารกายวันละ 10 นาที และศึกษาผลของโปรแกรมที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของคนทำงานในสำนักงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคคลทั่วไปที่ทำงานในสำนักงานและมีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 20 คน ช่วงอายุระหว่าง 20-30 ปี และมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 24 ผลการวิจัยพบว่าลักษณะและรูปแบบของคลิปวิดีโอที่จำเป็นต่อการฝึกบริหารกายวันละ 10 นาที มีดังต่อไปนี้ 1) ผู้มีภาวะน้ำหนักเกินสามารถฝึกบริหารกายได้ด้วยตนเองผ่านการชมคลิปวีดิโอ และฝึกบริหารกายตามได้ตามที่ตนเองมีเวลา 2) ผู้มีภาวะน้ำหนักเกินสามารถปฏิบัติตามได้อย่างคล่องตัวและมีท่าบริหารกายที่ไม่ยากมากเกินไป 3) ท่าทางในการบริหารกายของผู้มีภาวะน้ำหนักเกินจะต้องไม่เกิดแรงกระแทกที่หัวเข่าและข้อเท้ามากเกินไป 4) ผู้มีภาวะน้ำหนักเหมาะกับการบริหารกายกับเก้าอี้ ผลสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการเข้าโปรแกรมการฝึกบริหารกายวันละ 10 นาที พบว่า ด้านสัดส่วนองค์ประกอบของร่างกาย ด้านความแข็งแรงและอดทนของระบบกล้ามเนื้อเฉพาะการทดสอบการยืน-นั่งบนเก้าอี้ 60 วินาที และด้านความอดทนระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต มีค่าเพิ่มขึ้นหรือดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

Article Details

บท
Research Articles

References

กิจจา ถนอมสิงหะ. (2554). ผลของการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งที่มีผลต่อสุขสมรรถนะในเยาวชนหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

กรมพลศึกษา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 19-59 ปี. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมอนามัย. (2553). ขยับกายสบายชีวี. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข.

ปิยะภัทร มานะสถิตพงศ์. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยม กรุงเทพมหานคร.

เติมเพชร สุขคณาภิบาล. (2561). การเสริมประสบการณ์การเรียนโดยใช้คลิปวิดีโอในการสอนเทเบิลเทนนิสเพื่อให้ผลลัพธ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นันท์นภัส ธนฐากร และธนัช กนกเทศ.(2562). โรคอ้วนในผู้สูงอายุ : การประเมินและแนวทางป้องกัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(1), 16-26.

นภัสกร ชื่นศิริ. (2557). การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงและมีความหนักสูงมากต่อการใช้พลังงานองค์ประกอบของร่างกาย และการทำงานของหลอดเลือดในเด็กอ้วน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

วารินทร์ มากสวัสดิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถแห่งตนกับการมีกิจกรรมทางกายของวัยรุ่นตอนต้นที่ภาวะน้ำหนักเกินในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). การวัดและประเมินผลทางการพลศึกษา. รวมบทความเกี่ยวกับ ปรัชญา หลักการวิธีการสอนและการวัดประเมินผลทางพลศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนธยา สีละมาด. (2557). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาวะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดิเทพ มโนนะที. (2558). ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้านเพื่อลดน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

American College of Sports Medicine. (2017). ACSM’s Guidelines Testing and Prescription (10th Ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Kamen, G. (2001). Foundations of Exercise Science. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins.

McArdle W. D., Katch, F. I. & Katch, V. L. (2015). Essentials of exercise physiology (5th Ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

World Health Organization. (2014). Obesity and overweight. Retrieved from http://www.who.int/mediacentre/ factsheets/fs311/en/#