พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20 - 60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ขั้นแรกใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม และขั้นสุดท้ายใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบมีตัวแปรหุ่น ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างประชาชนวัยทำงานในเขตเทศบาลในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา พบว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่จำเป็นโดยทั่วไปอยู่ในระดับมากเป็น อันดับแรก รองลงมาคือด้านการดูแลตนเองที่จำเป็นในภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพ และด้านการดูแลตนเองที่จำเป็นตามพัฒนาการ 2) สถานภาพสมรส แผนความเชื่อด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมมีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมการปกครอง. (2563). สถิติประชากรและบ้าน. สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php
ชุติมา สร้อยนาค จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และพรศิริ พันธสี.(2561). การศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และความเสี่ยง การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของมุสลิมวัยทำงาน. วารสารพยาบาลทหารบก. 19 (พิเศษ), 267 – 277.
ณัฎฐา ม้วนสุธา.(2558). ปัญหาสุขภาพกับสังคมไทย. สืบค้นจาก http://www.srth.moph.go.th/slide/files/files_บทความวิชาการ%20 ศสม.โพธาวาส.pdf
เนตรดาว จิตโสภากุล. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ที่ 6 ตำบล บึงศาล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(3), 171-178.
เพ็ญศิริ สิมารักษ์. (2550). คู่มือประกอบการเรียนวิชาพัฒนาการมนุษย์. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พงศธร ศิลาเงิน.(2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). การรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เดือนตุลา.
รัชตา คำมณี. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
วิไลรัตน์ บุญราศรี.(2559). แบบแผนความเชื่อและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่มีภาวะอ้วนลงพุง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา กัลยาวีณ์ โมกขาว และสุริยา ฟองเกิด.(2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 14 (2), 114 - 124.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2557). รายงานงบประมาณประจำปี 2558. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา.
Becker, M. H., Drachman, R. H., & Kirscht, J. P. (1974). A new approach to explaining sick- role behavior in low - income population. American Journal of Public Health, 64(3), 205 - 216.
Cohen, S. (1985). Stress, social support, and buffering hypothasis. Psychological Bullietin, 98 (2), 310 - 357.
House, J. S. (1981). Work stress and social support. MA: Addison-Wesley.
Kaplan, B. H. (1977). Social support and health. Medical Care, 15(5), 47 - 58.
Orem, D. E. (1985). Nursing: Concept of practice (3rd ed.). New York: Mc Gra - Hill.
Pender, N. J. (1987). Health Promotion in nursing practice. New York: Appleton Centurt Crofts.
Thoits, P. A. (1986). Social support as coping assistance. Journal of Consulting and Critical Psychology, 54, 416 - 423.
Tilden, V. P. (1985). Issues of conceptualization and measurement of social support in the construction of nursing theory. Research in Nursing and Health, 81, 199 – 206.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.