การพัฒนารูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ : กรณีศึกษาโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดของนักเรียน ก่อนและหลังเข้ารับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนและครูต่อบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 360 คน และครูแนะแนวโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ สำหรับผู้รับบริการ 2) แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ สำหรับผู้ให้บริการ ระยะที่ 2 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการปรึกษาเชิงวิทยาแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 24 คน ครูแนะแนวโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 3 คน และนักเรียนโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จำนวน 5 คน สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ 2) แบบประเมินความเครียด (ST-5) และ 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยา แบบออนไลน์ “CNR-icare” ประกอบด้วย ฟังก์ชันเมนูของการให้ บริการแก่ผู้ใช้บริการ 5 เมนูหลัก ได้แก่ (1) คู่มือการใช้บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ (2) ตารางการปรึกษาแบบออนไลน์ (3) นัดหมายการปรึกษาออนไลน์ (4) ติดต่อเรา และ (5) สายด่วนสุขภาพจิต การให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยามี 3 รูปแบบ ได้แก่ แชท โทรผ่านเสียง และวิดีโอคอล 2) นักเรียนที่เข้ารับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์มีคะแนนความเครียดลดลงกว่าก่อนเข้ารับบริการ 3) นักเรียนและครูแนะแนวมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ “CNR-icare” ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรรณิกา พันธ์ศรี และคณะ. (2564). การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ในวิถีอนาคต Online Counseling in the Next Normal. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(1), 7-20.
เกียรติศักดิ์ ช่างเรือน. (2559). การศึกษาบทบาทการบริหารระบบการดูแลผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.
เกียรติศักดิ์ กลิ่นทอง. (2557). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย. (2564). รายงานผลการบริหารจัดการและการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย.
ประนอม แก้วสวัสดิ์. (2556). สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.
พิชามญชุ์ ม่วงแก้ว. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริการสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.
เพลินพิศ สิงห์คำ. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วรางคณา โสมะนันทน์. (2561). ทั กษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นสำหรับครูประจำชั้น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(2), 173-185.
วรางคณา โสมะนันทน์, คาลอส บุญสุภา และพลอยไพลิน กมลนาวิน. (2564). การให้บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ : มิติใหม่ของการให้บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 247-260.
วัชรี ทรัพย์มี. (2556). กระบวนการปรึกษา : ขั้นตอน สายสัมพันธ์ ทักษะ = the Counseling process : stage rapport, skill (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สืบตระกูล ตันตลานุกุล และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2562). การดูแลเฝ้าระวังความเครียดในวัยรุ่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(2), 279-285.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563 ก). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประจําปีการศึกษา 2563. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563 ข). คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. สุววุฒิ วงศ์ทางสวัสดิ์. (2553). การบริการด้านสุขภาพจิตทางอินเทอร์เน็ต: ลักษณะปัญหาของผู้มารับบริการและประสบการณ์ของผู้ให้บริการผ่านโปรแกรมเอ็มเอสเอ็น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
Baker, K. D. & Ray, M. (2011). Online counseling: The good, the bad, and the possibilities. Counselling Psychology Quarterly, 24(4), 341-346.
Crandell, T., Crandell, C. & Vander, Z. J. (2012). Human development (10thed). New York, NY : McGraw-Hill.
Horace, B. E. & Ava, C. E. (1974). A Comprehensive Dictionary of Psychological and Psychoanalytical Terms. New York, NY : Longmans Green.
Horwitz, A. G., Hill, R. M. & King, C. A. (2011). Specific coping behaviors in relation to adolescent depression and suicidal ideation. Journal of adolescence, 34, 1077-1085.
Nagel, D. M. & Anthony, K. (2010). Text-based online Counseling : chat. In Kraus,R., Stricker, G., & Spayer, C. (EDs), Online Counseling handbook for Mental health Professionals. San Diego. CA : Elsevier Academic Press.
OOCA. (2020). What is OOCA. Retrieved from https://ooca.co/
Robyn, S. H., Sandy, M. & Linda, B. (2012). Counseling Children and adolescents in schools. Thousand Oaks, CA : SAGE.
Reinkraut, R., Motulsky S. L. & Ritchie J. (2009). Developing a Competent Practitioner : Use of Self in Counseling Psychology Training. Asian Journal of Counseling, 16(1), 7-29.
VandenBos, G. R. (2015). APA dictionary of psychology (2nd ed.). Washington, DC : American Psychological Association.
Wong, K. P., Bonn, G., Tam, C. L. & Wong, C. P. (2018). Preferences for online and/or face-to-face counseling among university students in Malaysia. Frontiers in Psychology, 9, Article 64. Retrieved from https://doi.org/10.3389/fpsyg.2018.00064