การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการใช้ System Flowchart เกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการใช้ System Flowchart เกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย ตามสำนักงบประมาณสำนักนายกรัฐมนตรี
และกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง 2) สร้าง System Flowchart เพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย
3) วัดผลสัมฤทธิ์ของเครื่องมือ System Flowchart เพื่อใช้ตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย 4) ศึกษาระดับ
ความพึงพอใจในการใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม จำนวน 15 คน ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ผู้เกี่ยวข้องกับ
การจัดซื้อจัดจ้าง และผู้ปฏิบัติการงานพัสดุการศึกษาใช้วิธีเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากผลการวิจัยสามารถจำแนกประเภทรายจ่ายในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างจำแนกได้ดังนี้ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ ค่าใช้สอย และค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จากการศึกษาทำให้เชื่อมั่นได้ว่า
System Flowchart มีความเหมาะสมสำหรับนำมาใช้ตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย การศึกษาผลสัมฤทธิ์
จากการใช้เครื่องมือ System Flowchart ต่อกลุ่มตัวอย่างมีค่าในระดับสูง ทั้ง 3 กลุ่ม โดยสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง
ร้อยละ100 และกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน System Flowchart ในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายอยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Ensmenger, N. (2020). The Multiple Meanings of a Flowchart. Information & Culture, 51(3), 321-351.
Retrieved from https://doi.org/10.7560/IC51302
Ho, J.-L., Lin, C.-F., Lai, M.-Y., Tseng, L.-Y., & Chiang, T.-Y. (2021). Building Theory From Practice :
Mapping Executive Chefs’ Menu Planning Processes Using a Flowchart. SAGE Open, 11(4).
Retrieved from https://doi.org/10.1177/21582440211056610