การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นนครลำปาง

Main Article Content

ศิริขวัญ ปัญญาเรียน
เพียงกานต์ นามวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นนครลำปางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร ท้องถิ่นนครลำปาง และพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารบนอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นนครลำปาง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องที่ใช่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่ม ซึ่งศึกษาในพื้นที่เมืองเก่านครลำปาง 9 ชุมชน


         ผลการวิจัยพบว่า อาหารท้องถิ่นนครลำปางมีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เนื่องจากมีส่วนผสมจากสมุนไพรหลากหลายชนิด ที่นิยมรับประทานกันเฉพาะในจังหวัดลำปาง และภาคเหนือ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป แม้วัตถุดิบในการประกอบอาหารจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่มีการสืบทอด จนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินของท้องถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของทั้ง 9 ชุมชน ทั้งนี้ อาหารที่ได้รับความนิยมและรับประทานกันในชีวิตประจำวัน คือ ลาบ เข้าหนมเส้น (ขนมจีน) แกงผักเชียงดา ข้าวซอย แกงฮังเล แกงแค แกงโฮะ แกงอ่อม แกงบอน แกงตูน แกงบ่าค้อนก้อม (มะรุม) แกงหน่อไม้ ยำไก่ใส่ปลี แกงผักหวาน แกงสะแล แกงผักปลัง แกงหางหวาย แกงเห็ดโคน แกงขนุน ตำขนุน แกงกระด้าง ไส้อั่ว จอผักกาด น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู แกงหยวก แกงผักขี้เหล็ก เป็นต้น ส่วนการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารนั้น พบว่า ผู้ประกอบการประกอบอาหารให้รสชาติของอาหารที่ได้มาตรฐาน ร้านอาหารท้องถิ่นควรคำนึงถึงความเหมาะสมของอาหารและราคา ยกระดับมาตรฐานร้านอาหารท้องถิ่นให้เป็นร้านอาหารปลอดภัยได้มาตรฐานพัฒนาในเรื่องของช่องทางการจัดจำหน่าย จัดกิจกรรมเทศกาลอาหารท้องถิ่นการนำอาหารท้องถิ่นมาจำหน่ายในถนนคนเดินเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้เห็นได้รับรู้ และได้มีโอกาสลิ้มลอง จัดทำแผนที่หรือป้ายบอกที่ตั้งร้านอาหารให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงร้านอาหารท้องถิ่นของนักท่องเที่ยว สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่น แนะนำอาหารท้องถิ่นแก่นักท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง และต้องมีความสามารถในการทำงานให้บริการได้รวดเร็ว รวมทั้ง การสร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เช่น การสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารรูปแบบ Street food และการถ่ายทอดแทรกเรื่องราวของอาหารพื้นบ้านในสื่อต่าง ๆ ในสังคมออนไลน์

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกวรรณ สาโรจน์วงศ์. (2560). ความนิยมในการบริโภคอาหารท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดตราด. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2556). ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

กฤชณัท แสนทวี. (2562). แนวทางการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (14) กรกฎาคม-ธันวาคม 2562. หน้า 59

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2553). ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ:

กองนโยบายและแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ทิพวัลย์ รามรง. (2564). ศักยภาพอาหารท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารท้องถิ่น กรณีศึกษาจังหวัดตรัง เมืองคนช่างกิน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศษสตร์ 47(2): 59-74.

เณรัญชรา กิจวิกรานต์. (2557). ภาพลักษณ์อาหารไทย การรับรู้คุณภาพอาหารไทยและแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1/2557 หน้า 18-20.

วศินา จันทรศิริ (2557). วัฒนธรรมอาหารไทย: อีกหนึ่งพลังสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารมนุษยนิเวศศาสตร์. (ฉบับพิเศษ เนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยครบ 36 ปี).

สุดา นนทะวงษ์, ทัศนีย์ ตอนเนตร และศิริกัลยา จันแดง. (2556). วัฒนธรรมอาหารไทย: ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย,สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

หทัยชนก ฉิมบ้านไร และ รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2558). ศักยภาพอาหารพื้นเมืองและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหาร พื้นเมืองจังหวัดน่าน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 11(1), 37-53.