การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชน ในพื้นที่ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชน ในพื้นที่ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชน ในพื้นที่ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) โดยใช้เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงการ และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อให้ได้ข้อสรุปในการนำเสนอให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชน บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพื้นฐาน และจำแนกตามกลุ่มข้อมูล (Content Analysis) ที่ได้จากการการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชนในพื้นที่ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ มีสถานที่ที่เป็นจุดบ่งชี้ประวัติศาสตร์ที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน อาทิ ในโบราณสถาน ศาสนสถานและปัจจุบันยังไม่มีผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน ในส่วนของการศึกษาแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชนในพื้นที่ตำบลเวียงตาล พบว่า สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลเวียงตาลมีการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและมีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวมีการบริหารจัดการสถานที่โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในระดับดีเยี่ยมยังขาดการมีส่วนร่วมในพื้นที่ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคประชาชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น. (2564) องค์การบริหารตำบลเวียง ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ
ประเสริฐ ตระการศุภกร, การพัฒนาศักยภาพชุมชนชาวเขากับการลงทุนทางวัฒนธรรมเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม, รายงานการวิจัย. (กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม), 2544. หน้า บทคัดย่อ.
พระใบฏีกาสุพจน์ ตปสีโล, กระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ขององค์กรชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 2 ฉบับที่ 1, มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๗, หน้า ๑-๑๖.
ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ และคณะ (2563). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของกลุ่มจังหวัดล้านนา. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2560.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2567) หน้า 13-14 สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.(2555). ยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559). สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ
สำนักงานจังหวัดลำปาง. (2564).แผนพัฒนา 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). กรุงทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
สำนักนโยบายและแผน. (2554). นโยบายระยะการบริหารราชการ 4 ปี ของรัฐบาล. สำนักนายกรัฐมนตรี.กรุงเทพฯ
สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว.(2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพฯ
สุกัญญา วงศ์เจริญชัยกูล (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชชาหลักสูตรการบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.