การวิเคราะห์กลวิธีการแปลบทความทางการศึกษาจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย:กรณีศึกษาการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์การแปลบทความทางการศึกษาจากหนังสือInternational Chinese Teaching Cases and Analyses 2) เพื่อศึกษากลวิธีการแปลบทความทางการศึกษาจากฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย ดังนั้นผู้วิจัยได้ลงมือปฏิบัติการแปลบทความเรื่องการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของแต่ละประเทศ (Chinese Teaching Cases) จำนวน 6 บท 28 กรณีตัวอย่าง จากหนังสือ “International Chinese Teaching Cases and Analyses” (国际汉语教学案例与分析) และได้แบ่งการวิเคราะห์การแปลเป็น 2 ระดับคือ 1) ระดับคำศัพท์เทคนิคหรือคำศัพท์เฉพาะทางด้านการศึกษา 2) ระดับวลี กลุ่มคำ สำนวน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลวิธีที่ใช้ในการแปลงานทางด้านการศึกษาพบทั้งหมด 12 วิธี กลวิธีที่ผู้แปลใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ การขยายหรือเพิ่มคำ วลี ข้อความ (ร้อยละ 15.28) การเรียงลำดับประโยคใหม่ (ร้อยละ 14.96) และการเติมคำอธิบาย (ร้อยละ 9.55) นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการแปลคำศัพท์เฉพาะ สำนวนทางด้านวิชาการ การตีความหรือการจับใจความ และการเลือกใช้ภาษาฉบับแปล จึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้ 1) ศึกษาคำศัพท์และข้อมูลเฉพาะด้าน 2) ทำความเข้าใจในภาษาต้นฉบับและฉบับแปล 3) เลือกรูปแบบการแปล 4) เรียนรู้และวิเคราะห์โครงสร้างทางภาษา 5) เรียนรู้เทคนิคและกลวิธีในการแปล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กนกพร นุ่มทอง. (2554). ตำราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2555). พจนานุกรมจีน-ไทยฉบับใหม่. กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น.
นภสินี นิลพันธ์. (2561). การวิเคราะห์เทคนิคการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจากบทเพลงในภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องเงือกน้อยผจญภัยภาค 1 ชื่อเรื่อง “Little Mermaid – Poor Unfortunate Souls” (ใจอันไร้ที่พึ่งพา).วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(1), 82-95.
พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ในหมวดศัพท์เฉพาะทางภาษาจีน-ภาษาอังกฤษ. สืบค้นจาก https://dict.longdo.com/Search
พงษ์ศักดิ์ อันประเสริฐ และ กนกพร นุ่มทอง. (2559). การประยุกต์ใช้หลักการแปลกับการแปลงานวิศวกรรมเรือจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย.วารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 9(1), 108-142.
พัชรี โภคาสัมฤทธิ์. (2549). การแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย: ทฤษฎีและเทคนิค. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
วรนาถ วิมลเฉลา. (2543). คู่มือสอนแปล (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศรักษ์ เพชรเชิดชู. (2552). การแปลจีน-ไทยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญฉวี สายบัว. (2560). หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2552). การแปลขั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพรรณี อาศัยราช, ทัศนีย์ จันติยะ และจิราภรณ์ กาแก้ว. (2560). ปัญหาและกลวิธีการแปลบทความทางการศึกษาจากภาษาอังกฤษเป็นไทยของนิสิตสาขาภาษาอังกฤษ.วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 1(1), 71-85.
หนึ่งฤทัย ลาที. (2556). การวิเคราะห์การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจากหนังสือเรื่องแอตแลนติก มหาสมุทรข้ามกาลเวลา(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
Dictionary group of English Department of Beijing Foreign Studies University. Chinese-English Dictionary(Revised Edition). Beijing: Foreign Language Teaching and Research Press.
Nida, E. (1982). The Theory and Practice of Translation. Leiden, The Netherlands: E.J.Brill.
Larson, M. (1998). Meaning-Based Translation: A guide to cross-language equivalence. London: University Press of America.
Malone, J. L. (1988). The science of linguistics in the art of translation: Some tools from linguistics for the analysis and practice of translation. New York: State University of New York Press.
Phatarasringkarn, P. (2011). An Analysis of the Translation of the Short Stories of Sea-Writer Award Receiver-Chart Korpjitti. (Master’s thesis). National Institute of Development Administration.
Yong, Z. (2013). International Chinese Teaching Cases and Analysis. Beijing: Beijing Language and Culture University.