ปัจจัยด้านคุณภาพและทุนสังคมที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

อัญชลิกา เฟื่องฟุ้ง
ภัทราวดี มากมี
ปริญญา เรืองทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านคุณภาพ ด้านทุนสังคม และด้านการยอมรับและความเชื่อ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ
ตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยปรากฏว่า1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุองค์ประกอบของปัจจัยด้านคุณภาพและด้านทุนสังคม มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 299.80, df เท่ากับ 301, ค่า p เท่ากับ .51 ดัชนี GFI เท่ากับ .96, NFI เท่ากับ .98, NNFI เท่ากับ 1.00, CFI เท่ากับ 1.00, RMSEA เท่ากับ .00, RMR เท่ากับ .02, และค่า SRMR เท่ากับ .04 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล ได้ร้อยละ 46 และ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุองค์ประกอบของปัจจัยด้านคุณภาพและด้านทุนสังคม มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล
ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรปัจจัยด้านคุณภาพมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .44 และด้านทุนสังคมมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .10 เป็นสาเหตุทั้งทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลที่พัฒนาขึ้นโดยส่งผ่านความพึงพอใจ
ความมีประโยชน์และการใช้งาน ส่วนตัวแปรความมีประโยชน์มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .24 และการใช้งานมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .54 เป็นสาเหตุทางตรงเชิงบวกต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ขณะที่ตัวแปร
ความพึงพอใจไม่เป็นสาเหตุทางตรงต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล

Article Details

บท
Research Articles

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2020). การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร. สืบค้นจาก http://tdri.or.th/ 2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown

ศิริกานต์ จันทรศิริ. (2559). การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ตามแนวคิดวงจร Deming โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สมเกียรติ สรรคพงษ์. (2559). การจัดการศึกษาด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) กับการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล.

อัครพล จีนาคม. (2557). อิทธิพลของคุณภาพสารสนเทศต่อการใช้งาน ความพึงพอใจ และประโยชน์ที่ได้รับของผู้ใช้งานเว็บ OPAC ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

อาชนเทพ อัครสุวรรณ์. (2558). การศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบเทคโนโลยี สารสนเทศทางการบัญชีในองค์กรภาครัฐ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.

Donovan, E., Guzman, I. R., Adya, M., & Wang, W. (2018). A Cloud Update of the DeLone and McLean Model of Information Systems Success. Journal of Information Technology Management, 29(3), 23-34.

El-Masri, M., & Tarhini, A. (2017). Factors affecting the adoption of e-learning systems in Qatar and USA: Extending the Unified Theory of Acceptance and Use of Technology 2 (UTAUT2). Educational Technology Research and Development, 65(3), 743-763.

Fronczek, A. E., Rouhana, N. A., & Kitchin, J. M. (2017).Enhancing telehealth education in nursing: ApplyingKing’s conceptual framework and theory of goal attainment. Nursing Science Quarterly, 30(3), 209-213.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis a global perspective (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Jöreskog, K. G., & Sörbom, D. (2006). LISREL 8.8 for Windows [Computer Software]. Lincolnwood, IL: Scientific Software International, Inc.

Kline, R. B. (2011). Methodology in the Social Sciences Principles and practice of structural equation modeling (3rd ed.). New York: Guilford Press.

Liebenberg, J., Benade, T., & Ellis, S. (2018). Acceptance of ICT: Applicability of the unified theory of acceptance and use of technology (UTAUT) to South African students. The African Journal of Information Systems, 10(3), 1.

Marsh, H. W., & Hocevar, D. (1985). Application of confirmatory factor analysis to the study of self-concept: first and higher-order factor models and their invariance across groups. Psychological Bulletin. 97, 562-582.

Pallant, J. (2013). SPSS Survival Manual: A Step by Step Guide to Data Analysis Using the SPSS Program (5th ed.). Maidenhead, Berkshire, England: McGraw-Hill.

Schumacker, R. E.,& Lomax, R. G. (2016). A Beginer’s Guide to Structural Equation Modeling (4thed.). New York: Taylor & Francis.

Simonson, M., Zvacek, S. M., & Smaldino, S. (2019). Teaching and Learning at a Distance: Foundations of Distance Education (7th Ed.). North Carolina: Information Age Publishing.