ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลเขาท่าพระ จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

ณัชชารีย์ ธนัสจิรพัฒน์
จิระสุข สุขสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังใช้
ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล และ 2) เปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้ชุดบริการสนเทศหลังการทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลเขาท่าพระ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งหมด
40 คน แบ่งเป็น นักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล 2) ชุดบริการสนเทศ และ 3) แบบวัดความฉลาดทางดิจิทัล มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลนักเรียนกลุ่มทดลอง
มีความฉลาดทางดิจิทัลสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลอง
ที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลมีความฉลาดทางดิจิทัลสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้ชุดบริการสนเทศ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). DIGITAL THAILAND แผนพัฒนาดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ชนัญชิดา นามมา. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอุดรคริสเตียนวิทยา จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ณัฐกุล กิ่งแก้ว. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวต่อการควบคุมตนเองมีพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ตะวัน แวงโสธรณ์, นิรนาท แสนสา, วัลภา สบายยิ่ง และรัญจวน คำวชิระพิทักษ์. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว

แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการให้อภัยของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 12(1), 55-70.

ธีรวัฒน์ รูปเหลี่ยม. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ปณิตา วรรณพิรุณ และ นำโชค วัฒนานัณ. (2560). ความฉลาดทางดิจิทัล. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 29(102), 12-20.

พีรวิชญ์ คำเจริญ และ วีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิทัล. นวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 22-31.

มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย. (2562). แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.healthymediahub.com/media/detail/คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

วลัญชพร ทุ่งสง และ ลักขณา สริวัฒน์. (2562). การศึกษาความฉลาดทางดิจิทัลในระดับความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสารคามวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(3), 19-34.

วันวิสา ชูการ. (2559). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการแสวงหาและการใช้สารสนเทศของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษา จังหวัดตรัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สมร ทองดี และ ปราณี รามสูตร. (2545). หน่วยที่ 9 แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว ใน ประมวลสาระชุดการพัฒนาเครื่องมือและกิจกรรมแนะแนว (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สรานนท์ อินทนนท์. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย).

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

ในประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักยุทธศาสตร์.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.). (2559). ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence: DQ) ที่จำเป็นสำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก http://www.qlf.or.th/ Home/Contents/1137

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติพยากรณ์.

สุพัตรา เขียวหวาน. (2556). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สุลักขณา ใจองอาจ. (2561). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

เสาวนีย์ สุขสำราญ. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคระดมสมองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 11(2), 43-55.

DQ Institute. (2019). DQ Global Standards Report 2019. Retrieved from https://www.dqinstitute.org/dq-framework

DQ Institute. (2017). The top 8 Empowerments of DQ Education. Digital Intelligence Quotient Impact (Part2), p. 3-4. Retrieved from https://www.dqinstitute.org/DQ-Impact-Report-PART2.pdf

Stiakakis, E., Liapis, Y. & Vlachopoulou, M. (2019). Developing an understanding of digital intelligence as a prerequisiste of digital competence. Paper presented at The 13th Mediterranean Conference on Information Systems (MCIS), Naples, Italy. Abstract retrieved from https://aisel.aisnet.org/mcis 2019/27