การจัดทำระบบฐานข้อมูลเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงที่บูรณาการกับฐานข้อมูลระดับพื้นที่ และจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

จัดการ หาญบาง
ดาเรศ วีระพันธ์
ธรรมรัตน์ สิมะโรจนา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการศึกษาตามรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับมะม่วง 2) เพื่อจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงที่บูรณาการกับฐานข้อมูลระดับพื้นที่และจังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบฐานข้อมูล ผลการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สำรวจปัญหาและความต้องการ พบว่าปัญหาด้านการใช้งานหลัก ประกอบด้วย ข้อมูลถูกเก็บอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่เก็บไว้ในพื้นที่ส่วนราชการทำให้ยากต่อการสืบค้น การแสดงผลของข้อมูลเป็นแบบแยกส่วนยากต่อการนำ ไปใช้ และติดปัญหาเรื่องการขออนุญาตเผยแพร่ข้อมูล ระยะที่ 2 การออกแบบฐานข้อมูล เป็นการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาหรือข้อจำกัดในระยะที่ 1 โดยมีการพัฒนาเมนูการสืบค้นข้อมูลจากคำค้น และเมนูการแสดงผลการวิเคราะห์ในรูปแบบต่าง ๆ ระยะที่ 3 ทำการประเมินและทดสอบระบบ โดยนำผลการเก็บข้อมูลใหม่เทียบความใกล้เคียงกับฐานข้อมูลเดิม พบว่า มีความสอดคล้องกันกับฐานข้อมูลดั้งเดิม ระยะที่ 4 การสังเคราะห์ข้อมูลจากตัวอย่างข้อมูลการประมาณการผลิต พบว่า เดือนเมษายนเป็นช่วงที่สามารถผลิตมะม่วงได้จำนวนมากที่สุดซึ่งอาจส่งผลต่อสินค้าล้นตลาด ดังนั้น ควรมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเรื่องสินค้าล้นตลาดและนโยบายการแปรรูปรองรับ

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). คู่มือการดำเนินงาน โครงการขยายฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรเพื่อรองรับมาตรการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.
ชมพูนุช บุญญวรรณ. (2545). การใช้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ของคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล. (2542). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัดดาวดี ชาญอนงค์สุข. (2548). การศึกษาปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ประชาชาติธุรกิจ. (2561). “แปดริ้ว-สองแคว” ชูมะม่วงพืชศก. ออร์เดอร์จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีทะลักโกยพันล้าน!. สืบค้นจาก https:// www.prachachat.net/local-economy/news-139184
ผ่องพรรณ แย้มแขไข. (2544). การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับเป็นสมาชิกโดยสำนักหอหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนัก หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมชาย อารยพิทยา. (2558). การพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลพืชสมุนไพร กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(1), 25-37.
สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2560). สรุปข้อมูลการปลูกมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา. สืบค้นจากhttp://www. chachoengsao.doae.go.th/ecoplants/mango.htm