การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ และ 3) เพื่อหาประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนกระบวนวิชาค่านิยมและคุณลักษณะความเป็นครู จำนวน 144 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยการหา t-test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบการโค้ช FEED Coaching Model ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบได้แก่ 1. หลักและวิธีการโค้ช (Coaching) ประกอบด้วย การสร้างความสัมพันธ์ ความสามารถในการอธิบาย การสำรวจตรวจสอบ การกระตุ่นให้เกิดการปฏิบัติ และ 2. องค์ประกอบและกระบวนการเกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) ประกอบด้วย ขั้นการรับรู้ข้อมูลสถานการณ์ ขั้นการวิเคราะห์ ขั้นการสร้างความคิด ขั้นการเลือกความคิด ขั้นการนำความคิดไปใช้ ขั้นการประเมินผล 2) ประสิทธิภาพเท่ากับ 84.77/85.37 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และ 3) ประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์พบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนตามรูปแบบการโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.2) ผู้เข้ารับการอบรมมีระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบการโค้ชโดยรวมอยู่ในอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ครูพณิชยกรรม.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(2): 134-150.
ธัญพร ชื่นกลิ่น และวัชรา เล่าเรียนดี. (2555). การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล
ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 4(1): 112-129.
นิพนธ์ จิตต์ภักดี. (2553). การสอนแบบสร้างสรรค์. ประชากรศึกษา. 7(3): 19-21.
มารุต พัฒผล. (2558). รูปแบบการพัฒนาครูประถมด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิด. Veridian E-Journal. 8(2): 593-612.
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเพทมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค
Bennie, Andrew.; & O’Connor, Donna. (2011). An Effective Coaching Model: The Perception and strategies of professional team sport coach and players in Australia.
International Journal of Sport and Health Science. 9(2): 98-104.
Divito, Altred. (1971). Recognized Assessing Creativity Developing Teacher Competencies. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall Inc.
Hodge, Alison. (2016). The value of coaching supervision as a development process: Contribution to continued professional and personal wellbeing for executive
Coaches. International Journal of Evidence Based Coaching and Mentoring. 12(2): 87-106.
Linder-Pelz, S. (2014). Steps towards the benchmarking of coaches' skills. International Journal of Evidence Based Coaching and Mentoring. 12(1): 47-62
McComb, C. (2013). Managing the Internal Labour Market in a Manufacturing Company: Explaining
Coaching’s Perceived Ineffectiveness. International Journal of Evidence Based Coaching and Mentoring. 11(1): 1-20.
Osborn, M. (1996). “Social class, educational opportunity and equal entitlement: dilemmas of schooling in England and France,” paper presented at the America
Education Research Association Annual Conference, New York.
Rossmann, M. G. (1996). “Viral cell recognition and entry.” Curr. Sci, 71 : 193-204.