มาตรฐานโทษทางวินัยของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Main Article Content

วิลาวัณย์ ทัศคร

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐทำให้มีอิสระในการบริหารจัดการด้านต่างๆ โดย               สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจออกกฎหมายลำดับรองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล รวมถึงกำหนดโทษ และลงโทษทางวินัย จึงเกิดการเลือกปฏิบัติ งานวิจัยนี้ประสงค์ศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลด้านการกำหนดโทษทางวินัย การลงโทษทางวินัยตามมาตรฐานโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญ (ก.พ.) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) และพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลด้านการกำหนดโทษทางวินัย และการลงโทษทางวินัย พร้อมจัดทำมาตรฐานโทษพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งสามประเภท กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และกฎหมายลำดับรองเกี่ยวกับการกำหนดโทษ และการลงโทษทางวินัย พื้นที่ศึกษาคือ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 3 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายลำดับรองของมหาวิทยาลัยที่เป็นพื้นที่ศึกษา กำหนดโทษ และการลงโทษทางวินัย แตกต่างกันและไม่ปรากฏว่ามีมาตรฐานโทษทางวินัยประกอบการใช้อำนาจดุลยพินิจสั่งลงโทษทางวินัย จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การกำหนดโทษ และการลงโทษทางวินัยเป็นธรรมยิ่งขึ้น พร้อมจัดทำมาตรฐานโทษทางวินัยเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏบัติงาน

Article Details

บท
Research Articles

References

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2537). หลักกฎหมายปกครองเยอรมัน: พื้นฐานความรู้ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

กมลชัย รัตนสกาววงศ์ .(2551). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2556). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2543). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ประวีณ ณ นคร. (2533). คู่มือการรักษาวินัยข้าราชการสำหรับผู้บังคับบัญชา. กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ..

พัฒพงศ์ อมรวัฒน์. (2559). หลักกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547. (2547, 12 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 70 ก. หน้า 33-55.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 36-43.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559. (2559, 21 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 53 ก. หน้า 27-32.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง: หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

สำนักมาตรฐานวินัย. (2535). คู่มือการดำเนินการทางวินัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ก.พ..

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม. (2526). คำอธิบายกฎหมายปกครองในเอกสารประชุมกฎหมายมหาชนและเอกชนของปรีดี พนมยงค์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ. (2527) กฎหมายปกครองเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.