ผลการใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมอง ของนักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบหน้าที่การบริหารจัดการสมองของนักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมอง และ 2) เปรียบเทียบหน้าที่การบริหารจัดการสมองของนักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่ใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมองกับนักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่ไม่ใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่มีคะแนนจากแบบสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าว ในระดับมากที่สุดจนถึงระดับปานกลาง จำนวน 16 คน จากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เท่ากัน กลุ่มทดลองใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยา จำนวน 11 ครั้ง ครั้งละ 60-70 นาที กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดหน้าที่การบริหารจัดการสมอง และ 2) ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยา เพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบ แมนวิทนีย์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการทดลองใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมอง นักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมีคะแนนเฉลี่ยหน้าที่การบริหารจัดการสมองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่ใช้ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยามีคะแนนเฉลี่ยหน้าที่การบริหารจัดการสมองสูงขึ้นกว่าคะแนนเฉลี่ยดังกล่าวของนักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่ไม่ชุดฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาหน้าที่การบริหารจัดการสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กานต์ จำรูญโรจน์. (2561). ความหมายของพฤติกรรมก้าวร้าว. สืบค้นจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/
เกดิษฐ์ จันทร์ขจร. (2562). การบริหารจัดการของสมองขั้นสูงแนวคิดและแนวทางประยุกต์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย. (2562). ความหมายของพฤติกรรก้าวร้าว. สืบค้นจาก https,//www.manarom.com/blog/ aggression_in_children.html
ขจรวรรณ เชาวนกระแสสินธุ์. (2550). พฤติกรรมก้าวร้าวและอาการแสดง. สืบค้นจาก www.tmwa.or.th/new/view. php?topicid=624
คันธรส ภาผล. (2563). ผลการจัดกิจกรรมนิทานหุ่นเงาที่ส่งผลต่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารสมองสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1),100-133.
จุฑามาศ แหนจอน. (2560). การพัฒนาหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่น โดยหลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(28),130-144.
ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม. (2559). การให้คำปรึกษาแบบเผชิญความจริง.วารสารพุทธศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ส่วนกลาง, 28(4),394-405.
ดวงมณี จงรักษ์. (2560). การให้การปรึกษาวนการปรึกษาแบบกลุ่ม. วารสารวิทยบริการ คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, 29(1),188-200.
ทศพร แสงกนก. (2563). EF Executive Brain Function (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ทิศนา แขมมณี. (2547). เทคนิคการสอนโดยอภิปรายกลุ่ม. สืบค้นจาก https://thanaphon160333.wordpress.com/
ทิศนา แขมมณี. (2550). เทคนิคการสอนโดยใช้เกม. สืบค้นจาก http://skruteachingmethods.blogspot.com/p/blog-page_40.html
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). เทคนิคการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role playing). สืบค้นจากhttps://www.trueplookpanya. com/blog/content/76456/-blog-teamet
นันทา โพธิ์คำ. (2563). ทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 2(9),707-721.
ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2562). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เอกพิมพ์ไท.
ประเสริฐศรี เอื้อนครินทร์. (2542). การทดลองใช้เทคนิคแม่แบบเพื่อพัฒนาจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
พนม เกตุมาน. (2546). ความหมายของพฤติกรรมก้าวร้าว. สืบค้นจาก www.si.mahidol.ac.th
พัชรินทร์ พาหิรัญ. (2561). โปรแกรมสมองจิตใจและการเรียนรู้ต่อหน้าที่การบริหารจัดการของสมองในนักเรียนชั้นประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
มัณฑนา ชลานันต์. (2559). ทักษะการบริหารจัดการสมองและพัฒนาเด็ก. สืบค้นจาก https,//www.ryt9.com/s/prg/ 3040517
รุ่งเพชร หอมสุวรรณ์. (2564). การส่งเสริมทักษะการใช้สมองในการบริหารจัดการในเด็กปฐมวัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 15(2), 15-24
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง และคณะ. (2561). แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิราณี อิ่มน้ำขาว. (2563). ทักษะการคิดเชิงบริหารจัดการชีวิตในเด็กปฐมวัยการวิเคราะห์มโนทัศน์. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. (2556). ความหมายของพฤติกรรมก้าวร้าว. สืบค้นจาก https://new.camri.go.th/infographic/126?skin=no
สุวรรณ จุฑาสมปกรณ์. (2556). การให้คำปรึกษากลุ่มแบบทฤษฎีโซลูชั่น-โฟกัส. จิตดี คิดดี มีสุข. สืบค้นจาก http://suwanjutasompakorn.blogspot.com/
สุภาวดี หาญเมธี. (2561). ทักษะการบริหารจัดการสมอง. สืบค้นจาก https://www.rlg-ef.com/executive-functions-ef/
อภิรักษ์ ตาแม่ก๋ง และคณะ. (2562). ผลของโปรแกรม I AM Tap ต่อทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย.วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 14(1),182-19.
Blair,C. & Razza,R.P..(2007). Relating Effortful Control, Executive Function, and False Belief Understanding to Emerging Math and Literacy Ability in Kindergarten. Child Development, 78(2), 47-63.
Friedman,N.P. et al. (2006). Not All Executive Functions Are Related to Intelligence. Psychological Science,17(2), 172-179.
Salmpour, V. (2004). Executive Functions and Brain. The Autism New Link, Fall 2004, 5-6.
S Normandeau, F Guay. (1998). Preschool Behavior and First-grade School Achievement: The Mediational Role of Cognitive Self-control. Journal of Educational Psychology, 9(1), 112-121.
Saltus, R. C. (2003). Lack Direction? Evaluate Brain’s C.E.O. New York: New York Times.