ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของกองทัพเรือ กรณีศึกษา: ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา

Main Article Content

ดรุณ แก้วแล
จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
ณรงค์ พรมสืบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของกองทัพเรือ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของกองทัพเรือ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจร ทางอากาศของกองทัพเรือ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ เชิงอนุมาน คือการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบมีตัวแปรหุ่น ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของกองทัพเรือ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา มีคุณภาพชีวิตการทำงานปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าการทำงานด้านความเป็นประชาธิปไตยในการทำงานเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ ด้านความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านความมั่นคงและความปลอดภัยในการทำงาน มีคุณภาพชีวิตการทำงานปานกลาง และลำดับสุดท้าย คือ ด้านความเป็นธรรมหรือความเสมอภาค มีคุณภาพชีวิตการทำงานน้อย และ 2) รายได้ต่อเดือนและความพึงพอใจในการทำงาน มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของกองทัพเรืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

Article Details

บท
Research Articles

References

กัญญาภัทร อัศวพชระ ขวัญลักษณ์ คำโฉม และศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานที่ทำงานเป็นกะที่ปฏิบัติงานภายในสนามบินสุวรรณภูมิ. วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร.19(1), 25 – 31.

กมล กฤษวงศ์, พ.อ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

กระทรวงการคลัง. (2550). ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา. สืบค้นจาก /25580331102428_2015organic/Doc_2559 0418101100_125249.pdf

ณิชชา ทรงพร และอารง สุทธาศาสตร์ .(2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานขนส่งสินค้าในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(2), 135 - 154.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย. ข่าวสารวิจัยทางการศึกษา, 18(3), 8-11.

ศาลปกครอง. (2560, 5 พฤษภาคม). คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครอง.

สาริณี แสงประสิทธิ์. (2558). บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) พัฒนาแนวทางบริหารจราจรรับมือการเติบโตเที่ยวบินที่ ทสภ. สืบค้นจาก https://www.voicetv.co.th/read/276858

สินชัย ฉายรัศมี. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ศึกษาเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศท่าอากาศยานกรุงเทพและศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศ บริษัท วิทยุการบิน แห่งประเทศไทย จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์. (2557). นโยบายภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ. สืบค้นจาก http://www.mot.go.th

อรวรา กล้าหาญ .(2564). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง,กรุงเทพมหานคร.

Herrick, N. Q, & Michael, M. (1975). Humanizing of work life. In The Quality of Working Life: Problem prospects and the state of art. (pp. 63-67). New York: Free Press.

International Civil Aviation Organization. (2007). Rules of the air and air traffic services. Montreal: ICAO.

Locke. E.A. (1976). The Nature and Causes of Job Satisfaction. In Marvin D. Dunnette (Ed.) Handbook of Industrial and Organizational Psychology. Chicago: Ran McNally.