การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่มีผลต่อการเลือกใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ในธุรกิจร้านอาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้เทคโนโลยี IoT ของผู้บริโภคในธุรกิจร้านอาหารช่วงสถานการณ์โควิด 19 โดยมีการศึกษาปัจจัยด้านฟังก์ชั่นที่เหนือกว่า การดึงดูดด้านสุนทรี ความสะดวกสบายในการใช้งาน และการแสดงตัวตนของเทคโนโลยี IoT ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานอย่างต่อเนื่อง และการบอกต่อแบบปากต่อปาก โดยใช้เครื่องมือ ในการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์กับประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีประสบการณ์การใช้งานเทคโนโลยี IoT ในธุรกิจร้านอาหารช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ในการหากลุ่มตัวอย่างได้เลือกใช้สูตรของ Cochran และได้กลุ่มตัวอย่างที่สามารถนำมาวิเคราะห์ 514 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และค่าการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรตั้งต้นทั้ง 4 ปัจจัย มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม โดยมีตัวแปรคั่นกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจัยการแสดงตัวตนมีอิทธิพลมากที่สุดต่อปัจจัยด้านการใช้งานอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 69.80 แต่เมื่อมีปัจจัยด้านการสร้างประสบการณ์ร่วมเข้ามาเป็นตัวแปรคั่นกลางทำให้ค่าลดลงเหลือร้อยละ 32.3 นอกจากนี้การศึกษาปัจจัยด้านการสร้างประสบการณ์ร่วมยังมีอิทธิพลต่อการบอกต่อแบบปากต่อปากโดยมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นตัวแปรคั่นกลางที่ร้อยละ 81.6
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่าน อื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว