การประเมินผลนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อการพัฒนาอาชีพและรายได้ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง

Main Article Content

อำนวย ยุติธรรม
ฟ้าใส สามารถ
จุมพล หนิมพานิช
ปธาน สุวรรณมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การประเมินผลนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อการพัฒนาอาชีพและรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ในระดับผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อการพัฒนาอาชีพและรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการปรับปรุงแก้ไขนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อการพัฒนาอาชีพและรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกัน โดยใช้ข้อมูลจาก 3 แหล่ง ได้แก่ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2) การวิจัยเอกสาร และ 3) การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อการพัฒนาอาชีพและรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ในระดับผลผลิต พบว่า รัฐบาลได้สนับสนุนส่งเสริมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และมีการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สำหรับผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ในระดับผลลัพธ์ พบว่า มีปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้น เกิดการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับชุมชน และสร้างความยั่งยืนให้ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ในระดับผลกระทบ พบว่า ทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความเสื่อมโทรม และขาดความพร้อมในการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวก และ 2) ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของนโยบาย พบว่า ยังมีปัญหาและอุปสรรคในหลากหลายมิติ การปฏิบัติภารกิจส่งเสริมการท่องเที่ยวยังขาดความร่วมมือกับทุกภาคส่วนรอบด้าน ทำให้ประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายลดลง ดังนั้น ควรประสานกับทุกภาคส่วนในการทำงาน และการขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพด้านการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการสร้างงาน      สร้างอาชีพ รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพื่อสร้างชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถานการณ์การท่องเที่ยวปี 2561 และแนวโน้มปี 2562. สืบค้นจาก:https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11273

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. ฉบับที่ 1 กรกฎาคม –กันยายน 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมการท่องเที่ยว. (2562). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.

กรมการปกครอง. (2561). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรแยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561. สืบค้นจาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_61.pdf 2561

ชคัตตรัย รยะสวัสดิ์. (2558). การประเมินผลนโยบายรับจำนำมันสำปะหลัง : ศึกษากรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารราชพฤกษ์, 13(2), 33-40.

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2552). การบริหารจัดการงานท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2551). ทิศทางและแนวโน้มของรัฐประศาสนศาสตร์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาแนวคิดทฤษฎีและหลักการรัฐประศาสนศาสตร์หน่วยที่ 15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2543). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

ประไพ ศิวะลีราวิลาศ. (2549). การพัฒนารูปแบบการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทุนทางสังคม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789 /13398

เปรมณัช โภชนสมบูรณ์. (2561). การประเมินผลนโยบาย/แผนพัฒนากรุงเทพมหานครสู่เมืองน่าอยู่ : แผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม ในช่วงระยะเวลา พ.ศ. 2548 – 2558. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 1-14.

ภูมิศักดิ์ ราศรี. (2554). แบบจำลองการประเมินผลโครงการกรณีแบบจำลอง CIPP Model. สืบค้นจาก http//www. kroobannok.com

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2553). การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

มันทนา วุ่นหนู. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวระดับเมืองรองเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุคุณภาพ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. (2554). การวางแผนและประเมินผลโครงการแบบมุ่งเน้นผลงานในภาครัฐ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. (2557). แผนยุทธศาสตร์ 4 ปี (Strategic Plan) พ.ศ. 2556-2559 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ มหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2546). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

ส่วนบริหารการจัดเก็บภาษีกรมสรรพสามิต. (2555). การถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ ( Value for Money–VFM). สืบค้นจาก http://www3.excise.go.th/ebook/dep3/pdf/KM55.pdf

Hood, C. (1991). A public management for all seasons. Public Administration, 69, 3 - 19.

Cronbach, L.J. (1972). Essential of Phychological Testing (3rd ed). New York, USA: Harper and Row.

Thomas, R. D. (2005). Understanding Public Policy. New Jersey, USA: Pearson Education.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Stufflebeam, D. L. (1971). Educational Evaluation and Decision Making Itasca. Illinois: Peacock.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York, USA: Harper and Row Publications.

Wildavsky, A. (1976). Speaking Truth to Powers: The Art and Craft to Policy Analysis. California, USA: Little Brown.