ความสุขของประชาชนจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของเมืองพัทยา

Main Article Content

อาภาภรณ์ สุขหอม
กิจฐเชต ไกรวาส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสุขและความพึงพอใจของประชาชนจากการดำเนินกิจกรรมและโครงการงบเงินอุดหนุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของเมืองพัทยา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้เครื่องมือแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ในกลุ่มคณะกรรมการชุมชนจากทั้ง 42 ชุมชน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนผู้รับประโยชน์จากการดำเนินกิจกรรมและโครงการงบเงินอุดหนุนประจำปีของเมืองพัทยา จากทั้ง 42 ชุมชน จำนวนรวมทั้งสิ้น 840 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความสุขของประชาชน ใช้ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ของเหตุผลประกอบการประเมินในการวิเคราะห์ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความพึงพอใจของประชาชน ใช้ค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ความสุข ของประชาชนในด้านสุขภาพใจ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลง ด้านการใช้เวลา ด้านธรรมมาภิบาล ด้านสุขภาพชุมชน ด้านความหลากหลายทางนิเวศและความสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลง และด้านมาตรฐานการดำรงชีวิต ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขในระดับค่อนข้างมาก และมีการเปลี่ยนแปลงลดลงจากช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เนื่องจากสาเหตุของผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนจากทั้ง 42 ชุมชนในเขตเมืองพัทยาต่อการดำเนินกิจกรรมและโครงการภายใต้งบเงินอุดหนุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของเมืองพัทยา พบว่า ภาพรวมค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของประชาชนผู้รับประโยชน์จากการดำเนินกิจกรรมและโครงการของเมืองพัทยา อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (  = 2.66) โดยมีค่าลดลงเล็กน้อย (-0.03) จากช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (  = 2.69) โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นจากช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย (1) การช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ได้ตามมาตรฐาน (2) การช่วยลดปัญหาและผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ลงไปได้ (3) การช่วยรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อม (4) การช่วยทำให้ครอบครัวประชาชนเกิดความเข้มแข็ง ส่วนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่ลดลงจากช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย (1) การช่วยให้บุตรหลานของประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ (2) การช่วยทำให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง (3) การช่วยทำให้ประชาชนทุกครอบครัวมีการใช้เวลาในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม (4) การช่วยทำให้ประชาชนมีสภาวะทางจิตใจที่ดี (5) การดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล และ (6) การช่วยส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรมของชาติ

Article Details

บท
Academic Articles

References

กิจฐเชต ไกรวาส, จุฬาลักษณ์ พันธัง, ธาริกานต์ ธนัญชยะกุล, กฤติยา อนุวงศ์, ชวโรจน์ แย้มกลิ่น, อารญา สุขหอม,

จรัสพล ชยะสิทธิ์ และอาภาภรณ์ สุขหอม. (2563). โครงการประเมินผลการดำเนินงานงบเงินอุดหนุนประจำปี.

รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ เมืองพัทยา.

กิจฐเชต ไกรวาส. (2564). การวิเคราะห์ข้อมูลทางรัฐประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ซัคเซส.

ธนกฤต ทุริสุทธิ์ และชาตรี นาคะกุล. (2556). ดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.

วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 39(1), 209-220.

บัวสวรรค์ จันทร์พันดาว และปรุตม์ บุญศรีตัน. (2563). ธรรมนูญความสุขชุมชน : สู่การพัฒนาดัชนีความสุข

มวลรวมเชิงพุทธของชุมชนต้นแบบ. วารสารพุทธศิลปกรรม. 3(2), 1-11.

ฝ่ายทะเบียนและบัตรประชาชน สำนักปลัดเมืองพัทยา. (2564). สถิติจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร

ในเขตเมืองพัทยา. ชลบุรี: เมืองพัทยา

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. (2558). การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขของประชาชน

ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยวิจัยพุทธศาสตร์มหาจุฬา

ลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ภูวดล ศิริพงษ์. (2549). ความสุขมวลรวมประชาชาติกับการพัฒนา. วารสารโรงเรียนนายเรือ. 6(4), 41-47.

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2556). คุณภาพชีวิตของคนไทย : นัยจากดัชนีการพัฒนามนุษย์. วารสารนักบริหาร.

(4), 46-54.

. (2556). ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 4(2),

-103.

สามารถ บุญรัตน์. (2558). การปฏิรูประบบราชการภายใต้มาตรา 44. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทาง

วิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 15 (น. 156-167). คณะรัฐศาสตร์และ

นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

สิริมา ศิริมาตยนันท์ และคะนอง ปาลิภัทรางกูร. (2554). ภูฏานกับจุดยืนความสุขมวลรวมประชาชาติ

บนเวทีโลก (Bhutan and Its Positioning of “Gross National Happiness” in the World).

วารสารนักบริหาร. 31(4), 224-231.

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์, อรณิชา สว่างฟ้า, กนกพร นิตย์นิธิพฤทธิ์ และณัฏฐาภรณ์ เลียมจรัสกุล. (2553).

พัฒนาการแนวคิดเรื่อง ความสุขที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สุข และเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ:

Internation Research Associates for Happy Societies

สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ เมืองพัทยา. (2560). แผนพัฒนาเมืองพัทยา (พ.ศ. 2561 – 2565). ชลบุรี:

สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ เมืองพัทยา.

Barrett, R. (2014). The Values-Driven Organization: Unleashing Human Potential for

Performance and Profit. New York: Routledge, Taylor & Francis Group.

Frey, B., & A. Stutzer. (2002). Happiness and economics: How the economy and institutions

affect well-being. Princeton, NJ: Princeton University Press.

Galay, K. (ed.). (1999). Gross national happiness – A set of discussion papers. Thimphu,

Bhutan: The Centre for Bhutan Studies.

Maslow, A. H. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review. 50(1), 370-396.

Tideman, S. G. (2011). Gross National Happiness. In: ZSOLNAI, Laszlo (ed.). Ethical Principal

and Economic Transformation – A Buddhist Approach. Dordrecht: Springer

Science+Business Media B.V.

Ura, K., & K. Galay (eds.). (2004). Gross national happiness and development. Thimphu,

Bhutan: The Centre for Bhutan Studies. See also www.grossnationalhappiness.org.

Wangchuk, J.S. (1972). Gross national happiness is more important than gross national

product. (online). Available: http//www.google.com. Retrived April 7, 2021.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Haper and

Row.