ผลของกิจกรรมกลุ่มตามทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อ พฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักเรียนมูลนิธิพระหฤทัยอุปถัมภ์ โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง

Main Article Content

สุภาพร จันทร์ปาน
วรางคณา โสมะนันทน์
มฤษฎ์ แก้วจินดา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมกลุ่มตามแนวคิดแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม 2) เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมกลุ่มตามทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนมูลนิธิพระหฤทัยอุปถัมภ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 16 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมกลุ่มตามแนวคิดแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม 2) แบบประเมินพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อกิจกรรมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์คะแนนเพิ่มสัมพัทธ์จากแบบประเมินพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนจากแบบประเมินพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง นอกจากนี้กลุ่มเป้าหมายสะท้อนว่า กิจกรรมกลุ่มตามทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมสามารถช่วยพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักเรียนได้ดีขึ้นตามองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านของพฤติกรรมกล้าแสดงออก

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิตราภรณ์ ชีรนรวนิช.(2556). พฤติกรรมการกล้าแสดงออกในชั้นเรียนอย่างเหมาะสมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตนา บุญบุตตะ.(2558).การเปรียบเทียบผลการให้คําาปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงและทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อลดความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิชุดาวัลย์ โอรัตนสถาพร. (2546).ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรมที่มีต่อความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา.

วัลลภ ปิยะมโนธรรม.(2550). เทคนิคการแก้ไขอาการวิตก กังวล กลัว ด้วยตัวเอง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ฐานมีบุ๊คส์

ศรีเรือน แก้วกังวาล.(2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย/1.จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพ ฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Alberti, R. E., & Emmons, M. L.(1982). Your perfect right: a guide to assertive living: Impact Publishers.

Bower, S. A., & Bower, G. H. (1976). Asserting yourself: A practical guide for positive change. Oxford, England: Addison-Wesley

Lazarus, A. A., & Fay, A.(1975). I Can If I Want to: Morrow.

Sharf, R. S. (1996). Theories of psychotherapy and counseling: Concepts and cases. Pacific Grove: Brooks/Cole Pub. Co.

Wolpe, J. (1973). The Practice of Behavior Therapy: Elsevier Science & Technology Books.