รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการบัญชีธุรกิจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพผู้จัดการบัญชีธุรกิจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนารูปแบบและคู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการบัญชีธุรกิจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในยุคดิจิทัล การวิจัยเป็นแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 ท่าน ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้จัดการบัญชีและผู้บริหารที่ดูแลบัญชีในธุรกิจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 395 คน และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 16 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบประเมินรูปแบบและคู่มือ ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการบัญชีธุรกิจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 3 ด้าน 11 องค์ประกอบย่อย คือ 1) ด้านความรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) ด้านกลยุทธ์องค์กร ด้านบัญชี และด้านเทคโนโลยี 1.2) ด้านความรู้ข้ามสายงาน 1.3) ด้านการจัดการธุรกิจ 2) ด้านทักษะ มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) ด้านการบัญชี 2.2) ด้านเทคโนโลยี 2.3) ด้านการควบคุมจัดการเทคโนโลยี 2.4) ด้านการบริหารงาน 2.5) ด้านการบริหารธุรกิจ 3) ด้านคุณลักษณะ มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) ด้านความคิดแบบเติบโต 3.2) ด้านความคิดแบบมืออาชีพ 3.3) ด้านทำงานเป็นทีม ผลการประเมินรูปแบบและคู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการบัญชีธุรกิจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในยุคดิจิทัลเห็นว่ามีความเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กชกร เฉลิมกาญจนา. (2547). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กมลภู สันทะจักร์. (2560). คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ ในการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานราชการในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล 2562. สืบค้นจาก https://bit.ly/3OKYLCd
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2565). มาทำความรู้จักกับ "S-CURVE 10 อุตสาหกรรม
แห่งอนาคต". สืบค้นจาก https://www.planning.kmutnb.ac.th/news/view?id=27
กล้าหาญ ณ น่าน. (2559). การจัดการผลการปฏิบัติงาน (Performance Management). กรุงเทพมหานคร: บริษัท
ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
ฐปนพรรษ์ นุทกาญจนกุล. (2560). ผลกระทบและการเตรียมความพร้อมของนักบัญชีไทยต่อปัญญาประดิษฐ์ (AI)
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด.
ดุสิต ขาวเหลือง. (2554). การฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะ. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 18-32.
ทวีวัฒน์ มหาศิริอภิรักษ์. (2561). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพหัวหน้างานฝ่ายผลิตเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.
ธนวรรณ แฉ่งขำโฉม. (2562). ตัวแบบการจัดการการพัฒนาสมรรถนะของผู้ทำบัญชีที่มีประสิทธิภาพในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพมหานคร.
ธร สุนทรายุทธ. (2556). ทฤษฏีองค์กรและพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.
ธิดาวัลย์ อ่ำแจ้ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพที่ปรึกษาด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 11(3) : 153-162.
นันทวรรณ บุญช่วย. (2563). ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยีกับการพัฒนานักบัญชีนวัตกร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 3(1), 15-26.
พรทิพย์ สุขสงวน. (2557). ศักยภาพการบริหารจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, กรุงเทพมหานคร.
ภูชนน ภัทรจุฑานนท์. (2560). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการของการประปาส่วนภูมิภาค (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.
มลิวัลย์ ธรรมแสง. (2558). การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ (สื่อการสอน). สืบค้นจาก https://www.deafthai.org/wp-content/uploads/2018/05/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C.pdf
วัทธยา พรพิพัฒน์กุล. (2563). นักบัญชีบริหารในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/126283
ศศิมา สุขสว่าง. (2565). VUCA World กับ Innovation Coaching. สืบค้นจาก https://www.hcdcoaching.com/17014067/vuca-world-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-innovation-coaching
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2564). การพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริรัฐ โชติเวชการ. (2563). Big Data Analytics. สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/124851
______. (2561). การใช้ประโยชน์ของ Artificial Intelligence (AI) ในงานบัญชี. สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/upload/9414/pxgMPdItuZ.pdf
ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2563). อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม. สืบค้นจาก https://www.gsbresearch.or.th/gsb/published-works/8866/
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). บทบาทนักบัญชีในโลกอนาคตจากนักบัญชีสู่นักบัญชีนวัตกร. สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/126212
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563ก). โอกาสข้ามผ่านกรอบความคิดเดิมสู่โลกใหม่สายอาชีพ นักบัญชียุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/en/Article/Detail/126279
สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชัน จำกัด.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency Based Learning. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).
สุชาย สิริภัทรกุลธร, ศักดิ์ชัย นิรัญทวี, และอัจฉรา วัฒนาณรงค์. (2563). บัญชีบริหาร: เครื่องมือสำคัญสำหรับผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 26(2), 123-135
สุดธิดา การด. (2562). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักวิชาชีพบัญชียุคดิจิทัลของสถานประกอบการในจังหวัดเลย (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2558). การรู้ดิจิทัล (Digital literacy). สืบค้นจาก https://www.nstda.or.th/th/nstdaknowledge/2632-digital-literacy
อรรวีวรร โกมลรัตน์วัฒนะ. (2559). ศึกษาองค์ประกอบของผู้บริหารระดับสูงในการบริหารงานเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.
อริยา สรศักดา. (2562). สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร.
อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2560). องค์การนวัตกรรม มโนทัศน์ และตัวแบบเชิงทฤษฎี. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นจาก http://journal.nida.ac.th/test/wp-content/uploads/2018/01/158_ 187.pdf
Brown, B. C. (2012). Leading complex change with post-con-ventional consciousness. Journal of Organizational Change Management, 25(4), 560–575.
Herkema, S. (2003). A Complex Adaptive Perspective on Learning within Innovation Projects. The Learning Organization, 10(6), 340-346.
Lombard, C. & Crafford, A. (2003). Competency Requirements For First-Line Managers. SA Journal of Human Resource Management, 1(1), 42-52.
Niemi, B. (2017). The impact of training development on organizational performance. case study: National Financial Credit Bank Kumba. Kokkola, Centria University of Applied Sciences Business Management, Finland.
Taro Yamane. (1973 ). Statistics : An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.