ผลการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศโดยประยุกต์ตารางเก้าช่องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับปริญญาบัณฑิต

Main Article Content

สุนิศา โยธารส
รุ่งระวี สมะวรรธนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ซึ่งได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาลีลาศ ปีการศึกษา 2564 ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) โดยทำการทดลองทักษะประกอบดนตรีจังหวะชะชะช่า (Cha Cha Cha) และจังหวะคิวบัน รุมบ้า (Cuban Rumba) รวมทั้งแบบทดสอบเชิงสถานการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งได้ผลของการประเมินที่มีค่าใกล้เคียงกันและกำหนดเพศของทั้ง 2 กลุ่ม โดยกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง (30 คน) และกลุ่มควบคุม (30 คน) รวม 60 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศโดยประยุกต์ตารางเก้าช่องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ระยะในการดำเนินงานวิจัย 8 สัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบประเมินทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรี แบบประเมินเชิงสถานการณ์ทางความคิดสร้างสรรค์ และเกณฑ์การประเมินความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยค่าที (t-test) ผลก่อนและหลังการทดลองพบว่า ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองของกลุ่มทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์  หลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). คู่มือฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาลีลาศ ตามหลักสูตรมาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาลีลาศ (2559). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2558). ตาราง 9 ช่องกับการพัฒนาสมอง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เฉลิม ชัยวัชราภรณ์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้กล้ามเนื้อหลักบริเวณแกนกลางลำตัวในการเต้นลีลาศประเภทละตินอเมริกันของนักกีฬาลีลาศสมัครเล่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ช้องนาง วิพุธานุพงษ์. (2563). การเรียนรู้วิชากฎหมายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บัญชา ชลาภิรมย์ และอชิร กลิ่นอำภา. (2559). ผลของโปรแกรมฝึกกีฬาดาบไทยตามแนวคิดของกิลฟอร์ดที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2555). เอกสาร มคอ.5 การรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา. สืบค้นจาก http://www.edu.kps.ku.ac.th/qa/มคอ_5/มคอ5_01173255_255.pdf

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2552). เอกสารแนวการสอน มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชาลีลาศ. สืบค้นจาก https://regis.dusit.ac.th/images/download/1466650055

วายุ กาญจนศร และช่อพุทธรักษา หมายบุญ. (2559). ผลของการฝึกรูปแบบตารางเก้าช่อง ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาเนตบอลหญิง ทีมโรงเรียนกัลยาณวัตร. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น,10(4), 41-47.

วันชัย บุญรอด และปริญญ์ พรหมม่วง. (2560). ผลของการฝึกความมั่นคงแกนกลางลำตัวร่วมกับการฝึกตารางเก้าช่องที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงาน ก.พ. (2560). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ก.พ.

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2563). หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563). สืบค้นจาก www.tnsu.ac.th/web

Biasutti, M. & Habe, K. (2021). Dance Improvisation and Motor Creativity in Children Teachers' Conceptions. Taylor & Francis Creativity Research Journal, 33(1), 47-62.

Charassri, N. & Acalasawamak, R. (2016). The Dance Creation for Rhythmic Gymnastics in the International Competition Level. Journal of Social Sciences, 16(1), 77-92.

Purvis, D. (2021). Creating Thinking : Immersive Dance Theater as 4E Cognition in the Wild. Journal of Dance Education, 21, 149-157.

Taryana, T., Budiman, A., Karyati, D. & Julia, J. (2021). Enhancing students' understanding and skills on dance music An action research, 16(5), 2406-2424.

Turne, R. & Carlson, L. A. (2003). Indexes of Item-Objective Congruence for Multidimensional Items. International Journal of Testing, 3(2), 163-17.

Osterberg, P. & Olsson, B. K. (2021). Dancing : A Strategy to Maintain Schoolchildren’s Openness for Idea Generation. Journal of Physical Education, 92(3), 20-25.

Wahyudi, W., Waluya, S. B., Suyitno, H. & Isnarto, I. (2019). Schemata and Creative Thinking Ability in Cool-Critical-Creative-Meaningful (3CM) Learning. International Journal of Sustainability in Higher Education, 247, 576-582.