ผลของการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในเด็กสมองพิการสำหรับผู้ปกครอง เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตเด็กสมองพิการ

Main Article Content

จิดาภา ฤทธิ์สาคร
ดารณี อุทัยรัตนกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในเด็กสมองพิการสำหรับผู้ปกครองเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตเด็กสมองพิการ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความรู้และทักษะการช่วยเหลือตนเองสำหรับเด็กสมองพิการของผู้ปกครอง 2) เพื่อศึกษาทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กสมองพิการด้านกิจวัตรประจำวันและการรับประทานอาหาร 3) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของเด็กสมองพิการตามการรับรู้ของผู้ปกครอง กรณีศึกษาเป็นครอบครัวของเด็กสมองพิการ จำนวน 1 ครอบครัว ที่รับเข้ารับบริการด้านการศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพังงา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในเด็กสมองพิการสำหรับผู้ปกครองด้านกิจวัตรประจำวันและการรับประทานอาหาร รวมจำนวน 11 เรื่อง แต่ละเรื่องมี แผนการจัดกิจกรรม วีดิทัศน์สาธิต และบัตรภาพกิจกรรมขั้นตอนการฝึก 2) แบบประเมินความรู้และทักษะของผู้ปกครองในการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองสำหรับเด็กสมองพิการ แบบประเมินทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กสมองพิการ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพเฉพาะโรคสำหรับเด็กสมองพิการ ฉบับผู้ปกครองประเมินแทนเด็ก ซึ่งประเมินเฉพาะด้านกิจวัตรประจำวันและด้านการรับประทานอาหาร ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ระยะเวลา 9 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 สร้างโปรแกรมการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในเด็กสมองพิการสำหรับผู้ปกครองร่วมกับผู้ปกครอง ช่วงที่ 2 ฝึกและให้ความรู้ผู้ปกครองในการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในเด็กสมองพิการ และช่วงที่ 3 ผู้ปกครองนำโปรแกรมการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในเด็กสมองพิการไปใช้ฝึกเด็กสมองพิการที่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการแจกแจงคะแนน โดยการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแผนภูมิประกอบการบรรยายผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้และทักษะการช่วยเหลือตนเองสำหรับเด็กสมองพิการของผู้ปกครองเพิ่มขึ้นสามารถฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กสมองพิการได้ 2) ทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กสมองพิการด้านกิจวัตรประจำวันและด้านการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นสามารถปฏิบัติทักษะการช่วยเหลือตนเองได้ด้วยตนเอง 3) คุณภาพชีวิตของเด็กสมองพิการทั้งด้านกิจวัตรประจำวันและด้านการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่เด็กสมองพิการสามารถทำกิจกรรมได้โดยไม่มีความยากลำบาก

Article Details

บท
Research Articles

References

ฑมลา บุญกาญจน์ และคณะ. (2551). การสร้างเครื่องมือเพื่อพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเอง สำหรับเด็กสมองพิการภายใต้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน สุนันทา, 17(1), 119-133.

ณัฐธิดา ปัญญาธนคุณ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลเด็กสมองพิการของญาติผู้ดูแลในกรุงเทพมหานคร. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 6(1), 5-18.

ณรรทอร พลชัย และมัลลวีร์ อดุลวัฒนศิริ. (2557). ผลการให้คำปรึกษารายบุคคลที่มีต่อความวิตกกังวลในผู้ดูแลเด็กสมองพิการ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(2), 34-43.

ดวงใจ สนิท และคณะ. (2558). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 60-81.

น้อมจิต นวลเนตร์. (2552). หลักการทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยทางระบบประสาท. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. (2552, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 80 ง. หน้า 45-47.

ประภาศรี นันท์นฤมิต. (2564). การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารการจัดการศึกษาปฐมวัย, 3(1), 51-69.

พินัยลัก ตันติลีปิกร เอิร์. (2561). แบบสอบถามเฉพาะโรคสำหรับเด็กสมองพิการ. ใน ภาสกร ศรีทิพย์สุโข และคณะ. (บรรณาธิการ). การวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในเด็ก (หน้า 71-80). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพรัช ประสงค์จีน. (2553). โรคเด็กสมองพิการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาสกร ศรีทิพย์สุโข. (2555). รายงานการวิจัยผลของการฟื้นฟูทักษะการเคลื่อนไหวจากการเลียนแบบท่าทางในเด็กสมองพิการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือการฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวันของคนพิการทางสติปัญญา. กรุงเทพมหานคร: กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.

สุภาพร วรรณสันทัด และสิงห์ กาญจนอารี. (2562). โปรแกรมพัฒนาผู้ดูแลเด็กสมองพิการ: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 235-249.

สุไม บิลไบ. (2557). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียโดยใช้ ADDIE Model. (เอกสารประกอบการสอนนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา). สืบค้นจาก https://so01.tcithaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/255638/169984