ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจของพนักงานปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความยืดหยุ่นทางอารมณ์และ จิตใจของพนักงาน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจของพนักงาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นพนักงานปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมจำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในเขต กรุงเทพมหานครมีการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 และความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.49 2) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจของพนักงานปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำที่สุด (r=.154) คิดเป็นร้อยละ 2.37
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมสุขภาพจิต. (2552). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิต ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554). กรุงเทพมหานคร : บริษัทละม่อมจํากัด.
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพมหานคร : สามลดา.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง Authentic Learning. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และพิสมัย เสรีขจรกิจเจริญ. (2560). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข : กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.
พงษ์เทพ สันติกุล. (2560). การวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม สำหรับนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
มุทิตา คงกระพันธ์. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ยุทธ ไกยวรรณ์ และกมลพรรณ ไกยวรรณ์. (2562). ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สรุปผลที่สําคัญผู้ทํางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and row publishers.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition. New York : John Wiley & Sons.
Eisenberger, R., Stinglhamber, F., Vandenberg, C., Sucharski, I.L. and Rhoades, L. (2002 a). Perceived Supervisor Support : Contributions to Perceived Organizational Support and Employee Retention. Journal of applied psychology, 87(4), 565-573.
________. (2002 b). Perceived organizational support : A review of literature. Journal of applied psychology, 87, 698-714.
Greenberg., J. (1990). Organizational Justice: Yesterday, Today, and Tomorrow. Journal of Management, 16, 399-432.
Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children : strengthening the human spirit. The International Resilience Project. New York : Bernard van Leer Foundation.
Nguyen, Q., Kuntz, J. R. C., Naswall, K., and Malinen, S. (2016). Employee resilience and leadership styles. New Zealand Journal of Psychology, 45(2), 13-21.
Rhoades L, and Eisenberger R. (2002). Perceived Organizational Support: A Review of the Literature. Journal of Applied Psychology, 87(4), 698-714.
Sweetman, D. and Luthans, F. (2010). Relationship between Positive Psychological Capital and Creative Performance. Canadian Journal of Administrative Science, 28, 4-13.