เปรียบเทียบพัฒนาการการเล่าเรื่องภาษาไทยในฐานะเป็นภาษาที่สองของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการเล่าเรื่องภาษาไทยในฐานะภาษาที่สองของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ โดยเลือกวิเคราะห์พัฒนาการทางด้านวากยสัมพันธ์จากเรื่องเล่าของเด็กกรณีศึกษาเด็กกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าของนักเรียนโรงเรียนห้วยแม่ซ้าย ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสันกอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 5 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุ 4 ปี 6 ปี 8 ปี 10 ปี และ 12 ปี กลุ่มอายุละ 4 คน รวมทั้งหมดกลุ่มชาติพันธุ์ละ 20 คน โดยตั้งสมมุติฐานการเล่าเรื่องจากภาพ 10 ภาพ แสดงให้เห็นพัฒนาการความซับซ้อนของโครงสร้างประโยค และการใช้จำนวนของหน่วยถ้อยผลการวิเคราะห์พัฒนาการทางวากยสัมพันธ์ในแง่ขนาดของหน่วยถ้อย สรุปได้ว่าจำนวนของหน่วยถ้อยที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 คำ และเล็กกว่า 5 คำ มีจำนวนมากในทุกกลุ่มอายุและผลการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณในแง่โครงสร้างของหน่วยถ้อย สรุปได้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่มีพัฒนาการการใช้โครงสร้างของหน่วยถ้อย จากโครงสร้างระดับง่ายไปถึงโครงสร้างแบบยาก ตามลำดับกลุ่มอายุที่มากขึ้นทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มอายุ 4 ปี และ 6 ปี มีการใช้อนุประโยคในการเล่าเรื่องมากที่สุด ส่วนกลุ่มอายุ 8 ปี 10 ปี และ 12 ปีมีแนวโน้มใช้ประโยคความเดียว การใช้ประโยคโครงสร้างซับซ้อนและอนุประโยคที่สัมพันธ์กันเพิ่มขึ้นตามระดับกลุ่มอายุผู้เล่าเรื่องเพศหญิงของทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์มีค่าเฉลี่ยของหน่วยถ้อยมากกว่ากลุ่มผู้เล่าเพศชาย และใช้โครงสร้างประโยคได้ซับซ้อนกว่ากลุ่มผู้เล่าเพศชายทุกกลุ่มอายุเหมือนกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ภาษาไทย
นิรัติศัย กระจายเกียรติ. (2545). พัฒนาการทางวากยสัมพันธ์ของเด็กไทยในการเล่าเรื่อง. (วิทยานิพนธ์
ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์) . จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สุธาสินี ปิยพสุนทรา. (2552). พัฒนาการความซับซ้อนทางวากยสัมพันธ์และการผสานกันทางไวยากรณ์ในเรื่องเล่าของ
เด็กไทย. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, ยุพาพรรณ หุ่นจำลอง และ สรัญญา เศวตมาลย์. (2544). ทฤษฎีไวยากรณ์. กรุงเทพมหานคร : โรง
พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Berman, Ruth A. and Slobin, Dan Isaac. 1994. Relating Events in Narrative: A Crosslinguistic
Development Study. Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Brown, R. 1970. Psycholinguistics: Selected Papers by Roger Brown. New York : Free Press.
________. 1976. A First Language: The Early Stages. Harmondsworth: Penguin Education.