ค่านิยมในการทำงาน จิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน และความยึดมั่นผูกพันของพนักงาน ระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง

Main Article Content

พรรณลดา ลิขิต
รัตติกรณ์ จงวิศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของค่านิยมในการทำงาน จิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน และความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมในการทำงานและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานกับความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง และ 3) ตัวพยากรณ์ระหว่างค่านิยมในการทำงานและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานที่สามารถร่วมกันทำนายความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานระดับบังคับบัญชา ในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ครบวงจร จำนวน 120 คน เก็บข้อมูลพนักงานระดับบังคับบัญชาโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดค่านิยมในการทำงาน แบบวัดจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน และแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของพนักงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด


ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งมีค่านิยมในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ส่วนจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานและความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งอยู่ในระดับสูง 2) ค่านิยมในการทำงานและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานมีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .293  และ .335 ตามลำดับ) 3) ค่านิยมในการทำงานและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง ได้ร้อยละ 7.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles

References

กรุณา จันทุม. (2560). การสร้างเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพประเภทสเกล.

วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 24 (3): 11-21.

กันต์กวี อดุลยาศักดิ์ และ รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2563). ภาวะผู้นำที่แท้จริง จิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความยึดมั่นผูกพันของเจ้าหน้าที่ตำรวจตำแหน่งสารวัตรในสังกัดกองบัญชาการแห่งหนึ่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารวิจัยทรัพยากรมนุษย์, 15 (2): 8-27.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามลดา.

เจษฎา นกน้อย. (2560). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญวรัศมิ์ เพียววาณิช และ รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2553) ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การจิตวิญญาณองค์การกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของผู้จัดการบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน). วารสารวิจัยทรัพยากรมนุษย์, 5 (2): 31-40.

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2560). อิทธิพลของจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน สุขภาวะทางจิตวิญญาณ และภาวะผู้นำที่มีต่อผลลัพธ์ขององค์การ (The influence of workplace spirituality, spiritual health and leadership on organizational outcomes). วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 38: 644–654.

______ และ นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2560). บทบาทของจิตวิญญาณในการทำงานในการส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันของพนักงาน (The Role of Spirituality at Work for Enhancing Employee Engagement). วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 23 (2): 167-186.

______. (2564). จิตวิทยาองค์การ (Organizational Psychology). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: เอเชียดิจิตอลการพิมพ์ จำกัด.

อภิญญา หิรัญวงษ์. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 01475511 (สถิติประยุกต์ทางจิตวิทยา). ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (อัดสำเนา).

อนุรักษ์ วัฒนะถาวรวงศ์. (2561). ค่านิยมเกี่ยวกับงานและความพึงพอใจในงานมีผลต่อความผูกพันองค์การ ของบุคลากรทางการแพทย์ในแต่ละชนรุ่น. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 5 (1): 83 - 102

TTB analytics. (2566). คาดปี 2566 ตลาดบรรจุภัณฑ์ไทยเติบโต 4.0%. สืบค้นจาก. www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/packaging-marketing-2566.

We are BG. 2564. BG NEWS: กลุ่มบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง จัดงาน “Road to Twenty Twenty-Five สืบค้นจาก. www.facebook.com/bgigroup?locale=th_TH.

ภาษาอังกฤษ

Adkins, C. L. and S. E. Naumann. 2001. “Situational constraints of the achievement - performance relationship: A service sector field study.” Journal of Organizational Behavior, 22 (4): 453-465.

Chung, Y., N. W. Chi and C. Y. Chen. 2008. “Development and Valuation of Measurement on Work Values of Sales.” NTU management Review, 19 (1): 51-82.

Ashmos, D. P., and D. Duchon. 2000. Spirituality at work: A conceptualization and measure. Journal of management inquiry, 9 (2): 134-145.

Finegan, J. E. 2000. “The impact of person and organizational values on organizational commitment”. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 73 (2): 149-169.

Froese F.J. and Xiao, S. 2008. Work values, job satisfaction and organizational commitment in China. the international journal of human resource management, 23 (10): 2144-2162.

Ke, J., F. Zhang, Y. Xiaocen, and Fu, Y. 2017. “The Effect of University Teachers’ Workplace Spirituality on Employee Engagement: Professional Commitment as Mediator.” Journal of Scientific Research, 8 (13): 2147-2154.

Iqbal, H., R. Kashif, K. Kamran, and Hussainy, S. K. 2021. Impact of Workplace Spirituality on Employee Attitudes and Engagements. Journal of Pakistan Business Review, 23 (1): 92-114

Milliman, J., A. Gatling, and Kim, J. S. 2018. The effect of workplace spirituality on hospitality employee engagement, intention to stay, and service delivery. Journal of Hospitality and Tourism Management, 35: 56-65.

Schwartz, S. H. 2012. An overview of the Schwartz theory of basic values. Online Readings in Psychology and Culture, 2 (1): 1-20.