กิจกรรมนำความรู้ วิธีสอนแบบโสเครติส และภาพต่อ (Jigsaw) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ในรายวิชาขอบข่ายและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมนำความรู้และวิธีสอนแบบโสเครติส 2) สร้างภาพต่อ (Jigsaw) เป็นสิ่งประดิษฐ์ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยดำเนินกระบวนการกับผู้เรียนในชั้นเรียนระดับปริญญาโททั้งหมด 10 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Research) ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาขอบข่ายและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เน้นแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ภายใต้เทคนิควิธีสอนซึ่งเน้น (1) กิจกรรมนำความรู้ (2) การสอนแบบโสเครติส และ (3) การสร้างภาพต่อ ทำให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวและสนุกในการเรียนเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนแบบจด Lecture เพียงรูปแบบเดียว ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกันในการขบคิด ถกเถียงแลกเปลี่ยน วิพากษ์ และให้ข้อเสนอแนะ 2) ผู้เรียนสร้างภาพต่อ (Jigsaw) เป็นสิ่งประดิษฐ์ช่วยหนุนเสริมการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Course Learning Outcomes: CLOs) เพิ่มมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กฤษณุ ปะทานัง และสุจินต์ อังกุราวิรุทธ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามแบบโสเครติสเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2), 57-67.
ธีรพงศ์ แก่นอินทร์. (2554). วิธีสอนแบบโสเครติส. วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี,
(2), 156-160.
วรินทร สิริพงษ์ณภัทร. (2566). การเสริมสร้างคุณลักษณะพลเมืองตื่นรู้ของผู้เรียนโดยการตั้งคําถามแบบโสเครติส. วารสาร
ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 51(1), 1-18.
วิจิตรา ศิริวงศ์ และประสิทธิ์ สระทอง. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน Classroom Action Research. วารสาร
สิรินธรปริทรรศน์, 20(2), 199-213.
สุนิสา บุญมา และสายฝน วิบูลรังสรรค์. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการใช้คําถามแบบโสเครติสเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์เรื่องอสมการสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสาร
วิชาการศึกษาศาสตร์, 21(1), 77-91.