การพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค L.T. ร่วมกับผังกราฟิก และบูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มที่ได้จากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค L.T. ร่วมกับผังกราฟิก และบูรณาการใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค L.T. ร่วมกับผังกราฟิก และบูรณาการใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/7 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม และ4) แบบประเมินผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกระบวนการกลุ่มมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ( = 2.52) และ2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
เขมวันต์ กระดังงา. (2554). ผลการเรียนด้วยกระบวนการกลุ่มร่วมกับเว็บ สนับสนุนการเรียนที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม วิชาการพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ศิลปากร
จุฑามาส ทัศนา และคณะ. (2565). “ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการ เรียนร่วมกัน ร่วมกับผังกราฟิก วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3”. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4: 211-224.
นิลุบล ศิลปะธนู และคณะ. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค L.T. ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ทักษะกระบวนการกลุ่มของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน การประชุม หาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13 (น. 1920-1934). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
นิภา สุมาลข์. (2551). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ คณะ ครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ชนภัทธ์ อินทวารี. (2558). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโบสถ์ จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.
ภาษาอังกฤษ
Ausubel, D. P. (1968). Education Phyclology : A cognitive view. New York : Holt Rinehart And Winston.