การวิเคราะห์เนื้อหาการเรียนการสอนวัฒนธรรมไทยในมหาวิทยาลัย เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

YU WEI
พัชรินทร์ บูรณะกร

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาวัฒนธรรมไทยที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีนโดยใช้ทฤษฎีการประเมินเนื้อหาวัฒนธรรมในตำราภาษาต่างประเทศของ Michael Byram ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research) นำเสนอการศึกษาวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า มีหลักสูตรรายวิชาจำนวน 9 วิชาที่สอนวัฒนธรรมไทยโดยทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ รายวิชา สภาพโดยรวมของประเทศไทย ภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนวนสุภาษิตไทย วรรณกรรมไทย การเปรียบเทียบวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมจีน สังคมและวัฒนธรรมไทย คติชนวิทยาไทย ภาษาไทยพื้นฐาน และการอ่านภาษาไทย เนื้อหาวัฒนธรรมใน 9 วิชานั้น วิเคราะห์ด้วยทฤษฎีการวิเคราะห์ และประเมินเนื้อหาทางวัฒนธรรมในตำราเรียนภาษาต่างประเทศของ Michael Byram พบจุดเด่นเนื้อหาวัฒนธรรมไทยในทั้ง 9 วิชา ได้แก่ 1) ครอบคลุมหัวข้อทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย 2) เนื้อหามีความใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของนักศึกษา 3) มีเนื้อหาเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมจีน ส่วนจุดด้อยเนื้อหาวัฒนธรรมไทยในทั้ง 9 วิชา ได้แก่ 1) การกระจายประเภททางวัฒนธรรมไม่เท่ากัน 2) เนื้อหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมน้อยเกินไป หลังจากวิเคราะห์วัฒนธรรมไทยในทั้ง 9 วิชาที่เปิดสอนในเมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีนทั้ง 7 แห่งแล้ว  ผู้วิจัยได้เสนอข้อเสนอแนะสำหรับผู้สอนในการใช้ตำราเรียนอย่างมีประสิทธิภาพจากทั้งด้านอุดมคติ การสอนในชั้นเรียนและกิจกรรมนอกหลักสูตร ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสื่อการสอนจาก 2 ด้าน คือ การคัดเลือกและจัดเนื้อหา และข้อเสนอแนะในด้านการให้ความสำคัญกับเนื้อหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

Article Details

บท
Research Articles

References

พระยาอนุมานราชธน. (2496). วัฒนธรรม. ค้นวันที่ 26 มกราคม 2567 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พระยาอนุมานราชธน_(ยง_เสฐียร โกเศศ).

วัลยาพร นาวีการ. (2527). บทบาทของวัฒนธรรมในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ.วารสารภาษาปริทัศน์, 5(1). 68-74.ศรัญญา วาหะรักษ์ และชลลดา เลาหวิริยานนท์. (2558). อคติในการนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรมในหนังสือเรียนภาษาอังกฤษ. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 32(2), 91-112.

สุธาพร ฉายะรถี. (2558). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมกับการสอนภาษาอังกฤษ.การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 30-31 มีนาคม 2558. 313-317.

Byram, M. (1994). Teaching and Learning and Culture. Clevedon: Mutilingual matters.

Jiang, X. (2006). Towards intercultural communication: from micro to macro perspectives. Intercultural Education, 17(4), 407-419.

Larry, E. S. (2009). Dimensions of understanding in cross-culture communication. New York: Palgrave Macmillan.

Peng Chao. (2015). A study of cultural themes in textbooks for English Majors—A case study ofcontemporary college English (second edition) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกว่างซี].

Shen Yue. (2019). การศึกษาเนื้อหาทางวัฒนธรรมในตำรา "Oxford High School English (YilinEdition) ตามแบบจำลองการประเมินเนื้อหาทางวัฒนธรรมของทฤษฎี Byram [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยครูศาสตร์หูหนาน].

WEI ZIN และสมหมาย แจ่มกระจ่าง. (2553). ความคิดเห็นของ อาจารย์ นักธุรกิจ และนักศึกษาจีนต่อการเรียนภาษาไทยในมณฑลกว่างซี เพื่อประกอบอาชีพ. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 6(1), 67-80.