ผลการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในจังหวัดเชียงราย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในจังหวัดเชียงราย โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านป่ากว๋าว-ดอนชัย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC เรื่องคำที่มีสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป จำนวน 6 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ของการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทย จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC การอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย มีประสิทธิภาพ 81.31/80.18 เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC มีประสิทธิภาพสูงกว่า 80/80 ที่กำหนดไว้ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนกับหลังการพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ของนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในจังหวัดเชียงราย ผลก่อนและหลังการทดลองพบว่า ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 19.07 คะแนน และ 24.20 คะแนน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กมลทิพย์ ศรีนุ่ม. (2558). การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วย การเรียนแบบ ร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึก [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
กรมวิชาการ. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. สำนักพิมพ์องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กำชัย ทองหล่อ. (2552). หลักภาษาไทย. สำนักพิมพ์อมรการพิมพ์.
ชนกานต์ ทิพอุ่น. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชนเผ่าปกาเกอะญอชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกองแขก โดยใช้รูปแบบการสอน ซี ไอ อาร์ ซี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์ พี บาลานซ์ ดีไซด์ แอนปริ้นติ้ง.
บันลือ พฤกษะวัน. (2557). แนวพัฒนาการ อ่านเร็ว-คิดเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาณิสรา สำเนียงเย็น. (2554). การพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีมาตราตัวสะกดในภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดอยช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 [วิทยานิพนธ์
ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย].
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒประสานมิตร.
ไพรินทร์ พึ่งพงษ์. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนสะกดคำที่มีสระประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 โดยใช้ยุทธวิธีพหุปัญญาแผนผังความคิดและแบบฝึกเสริมทักษะ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปกร].
ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์. สำนักพิมพ์ราชบัณฑิตยสภา.
รุ่งนภา นวลแปง. (2559). การพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุตรดิตถ์].
ละมัย บทไธสง. (2553). การสร้างชุดกิจกรรมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์]
ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิยาลัยเชียงใหม่].
สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.(2559). คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ. สำนักพิมพ์โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.
สุนีย์ แก้วของแก้ว. (2549). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกการประสมอักษร. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร]
สมพงษ์ ศรีพยาต. (2553). การพัฒนาชุดฝึกการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยศิลปากร].
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3. สำนักพิมพ์โรงพิมพ์เชียงราย.
ภาษาอังกฤษ
Krashen, S. D., & Terrel, T. D. (1983). The Natural Approach Language Acquisition in the Classroom. U.K. Pergamon Press.