การพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่าซาง (ซางดรุณานุสาสน์) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พิชชาพร อุดมปาละ
สุกัญญา ขลิบเงิน
อนันตา สุขวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะที่ใช้ในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่าซาง (ซางดรุณานุสาสน์) จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบฝึกทักษะเรื่องคำควบกล้ำ และแบบวัดความสามารถการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการหาร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเพื่อการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำเท่ากับ 93.32/93.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 28.17 คิดเป็นร้อยละ 93.90 และมีคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 19.69 คิดเป็นร้อยละ 65.63 ที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำดีขึ้นเท่ากับ 8.48 คิดเป็นร้อยละ 28.27

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมวิชาการ. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. สำนักพิมพ์องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กอบกาญจน์ วงค์วิสิทธิ์. (2551). ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์.

กิติยวดี บุญซื่อและคณะ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้ อย่างมีความสุข ต้นแบบการเรียนรู้ ทางด้านหลักทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา.

ชยาภรณ์ พิณพาทย์. (2542). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพเพื่อสอนซ่อมเสริม เรื่องการสะกดการันต์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3. [ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสารคาม].

ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ. (2550). แบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ผู้เรียนและการจัดทำผลงานวิชาการของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ. ธารอักษร.

ธนิดา เรืองวิเศษ. (2550). การพัฒนาทักษะการสะกดคำยาก โดยใช้แบบฝึกทักษะ กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อนช่วย เพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหัวหมู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคาม เขต 2. [การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

บ้านป่าซาง(ซางดรุณานุสาสน์). (2564). รายงานผลคุณภาพการศึกษาระดับชั้นเรียน ปีการศึกษา2564. เชียงราย. โรงเรียน บ้านป่าซาง(ซางดรุณานุสาสน์).

บ้านป่าซาง(ซางดรุณานุสาสน์). (2564). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าซาง(ซางดรุณานุสาสน์) ปีการศึกษา 2564. เชียงราย. โรงเรียนบ้านป่าซาง(ซางดรุณานุสาสน์). (อัดสำเนา).

ประพันธ์ จ่ายเจริญ. (2536). รายงานการวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนที่สอนโดยใช้แบบฝึกหัดที่สร้างขึ้นกับแบบฝึกหัดในบทเรียน. กรุงเทพฯ. ภาควิชาหลักสูตรและ การสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประภัสสร ปันสวน. (2547). การจัดกิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. [การค้นคว้าแบบอิสระศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

ปราณี อยู่คง. (2546). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ครุ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน, สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี].

พนัส หันนาคินทร์. (2542). คู่มือครูภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ. แม็ค.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒประสานมิตร.

ไพพรรณ อินทนิล. (2546). การส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ. ชลบุรีการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพมหานคร. อักษรเจริญทัศน์.

วรรณ แก้วแพรก. (2526). คู่มือการสอนชั้นประถมศึกษา. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2547). สื่อการเรียนรู้ภาษาไทยฉบับสมบูรณ์แบบ 4. กรุงเทพฯ. ไทยวัฒนาพานิช.

สุชานาถ ยอดอินทร์พรหม. (2549). การใช้แบบฝึกการเขียนเพื่อส่งเสริมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางร่างกายหรือสุขภาพ. [การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2547). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ. ไทยวัฒนาพานิช.

สุวัฒน์ สืบเพ็ง. (2554). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำที่มี ร ล ว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์].

สุวรรณี ตรีนก. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคล่องเรื่องคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี].

อนงค์ศิริ วิชาลัย. (2536). เสริมความรู้ภาษาไทยระดับประถมศึกษา. พะเยา. สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพะเยา.

อนงค์ นาคสวัสดิ์. (2540). การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาไทยด้วยดนตรีสรีระ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อัมพร วสันต์. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็น ฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ ครุศา สตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย].

อุไรรัตน์ ทะลา. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำมาตราตัวสะกด โดยใช้กระบวนการทางภาษาศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. [ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต การสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย].

อานงค์ ใจรังกา. (2547). การพัฒนาการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว. [ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์].