สร้างฐานข้อมูลภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นจากผู้สูงอายุ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา
อรพินท์ หลักแหลม
ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์
อุทิศ บำรุงชีพ
วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
พักตร์วิภา โพธิ์ศรี
ศราวิน เทพสถิตภรณ์
กนก พานทอง
ปริญญา เรืองทิพย์

บทคัดย่อ




การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพ บริบท สังคม วัฒนธรรม และปัจจัยการพัฒนาศักยภาพด้านภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นจากผู้สูงอายุ 2) สร้างฐานข้อมูลแผนที่ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น และ 3) สร้างสื่ออัจฉริยะแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้ประกอบอาหารรับประทานเองหรือเป็นผู้ประกอบการด้านอาหาร จำนวน 258 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง เก็บข้อมูลโดยใช้การแจกแบบสอบถาม จำนวน 258 ตัวอย่าง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 208 คน และดำเนินการสนทนากลุ่ม จำนวน 50 คน กับผู้สูงอายุเจ้าของภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น จำนวน 40 คน และเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านอาหาร จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.4 มีอายุระหว่าง 60-69 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีคะแนนภาวะสมองเสื่อม IQ Code อยู่ระหว่าง 3.31-4.00 ซึ่งเป็นเกณฑ์ปกติพิจารณาคัดเข้าร่วมโครงการวิจัยได้ และส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 18.8 รองลงมาคือ โรคเบาหวาน ร้อยละ 17.8  และโรคไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 11.1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบรับประทานเนื้อหมู ร้อยละ 61.5 ไข่ ร้อยละ 66.8 ผักใบเขียว ร้อยละ 73.9 และรับประทานผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน ร้อยละ 57.2 ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นจากผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ อาหารคาว 57 ชนิด อาหารหวาน 45 ชนิด และอาหารแปรรูป 18 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดอาหารมีรายละเอียดในเนื้อหา ได้แก่ ชื่อจังหวัด ชื่ออาหาร ประวัติความเป็นมาของอาหาร เอกลักษณ์ของอาหาร ติดต่อเจ้าของภูมิปัญญา และพิกัดการเข้าถึงอาหาร และฐาน ข้อมูลภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นจากผู้สูงอายุฯ สร้างด้วยโปรแกรม phpMyAdmin ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชั่น (Web Application) สื่อฐานข้อมูลภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นจากผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โลกเสมือนผ่านโลกจริง (Augmented Reality : AR) ครอบคลุมทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารใน 23 อำเภอ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สามารถสืบค้นได้แบบไล่เลียง และในรูปแบบคำค้น เข้าถึงเนื้อหาที่เชื่อมโยง AR Code มีระบบ Login สนับสนุนการเชื่อมต่อเครือข่าย GPS, Google, Google mapping เป็นต้น

Article Details

บท
Research Articles

References

ภาษาไทย
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564, จาก http://www.dop.go.th
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2554). หลักการออกแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2552). เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology). กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอน คอนซัลท.
นันทา มาระเนตร์. (2553). คำนิยมและความสำคัญของผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564, จาก
https://guru.sanook.com/search.
ประหยัด จิระวรพงศ์. (2553). เทคโนโลยีผสานความจริงเสมือน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 12(3), 189-194.
ประหยัด สายวิเชียร. (2547). อาหารวัฒนธรรมและสุขภาพ. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
พนิดา ตันศิริ. (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พัชญ์สิตา ฉ่ำมาก. (2551). การออกแบบเว็บเพจเพื่อการส่งเสริมอาหารไทย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
รวีโรจน์ อนันตธนาชัย. (2548). อาหารไทย: อาหารสมดุล-สมุนไพร. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
ละเอียด แจ่มจันทร์, สุรีขันธรักษวงศ์. (2549). สาระทบทวน: การพยาบาลผู้ใหญ่. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ: จุดทอง.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ นภาพร ชโยวรรณ มาลินี วงษ์สิทธิ์ ศิริวรรณ ศิริบุญ วรเวศม์ สุวรรณระดา วิราภรณ์
โพธิศิริบุศริน บางแก้ว และชเนตตี มิลินทางกูร. (2556). รายงานการศึกษา โครงการติดตามและ
ประเมินผลการดําเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ระยะที่ 2 (พ.ศ.
2550-2554). กรุงเทพมหานคร. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสํานัก
ส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่งคงของมนุษย์.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2554). การพยาบาลผู้สูงอายุ : ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการดูแล. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ: สำนักแห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริสุภา เอมหยวก และสนทยา สาลี. (2559). การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัด
โบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล
สงคราม. 10(1), 35-48.
อาทิ วรวุฒิพุทธพงศ์. (2550). การออกแบบเว็บเพจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพตามหลักการออกแบบและ
ข้อมูลเชิงประจักษ์ด้านความน่าดึงดูดใจ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
เชียงใหม่.
อัชชา เขตบำรุง. (2553). รูปแบบนวัตกรรมที่เหมาะสมในการเผยแพร่ความรู้เรื่องการแก้ไขสภาพดินเค็มในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภาษาอังกฤษ
Altheide, D. L. (2008). Media Logic and Political Communication in Political communication. London: Sage
Publications.
Milgram and A.F. Kishino. (1994). Toxonomy of Mixed Reality Virtual Displays IEICE Transactions on
Information and Systems. E77-D(12), pp.1321-1329.
Paravati, E., Naidu, E., Gabriel, S. & Wiedemann, C. (2019). More Than Just a Tweet: The Unconscious Impact of
Forming Parasocial Relationships Through Social Media. Psychology of Consciousness: Theory.
Research and Practice, 1-16. Doi: 10.1037/cns0000214.
Roger, Everett M. and F. Shoemaker. (1983). Diffusion of Innovation. (3nd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Thailand Creative & Design Center. (2562). มองไปข้างหน้า 2050: เดินหน้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society). สืบค้นเมื่อ 15
ตุลาคม พ.ศ. 2564, จาก
https://web.tedc.or.th/th/Articles/Detail/Aging.Society-2050.
The United Nations. (2020). World Population Ageing 2020 Highlights. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564, จาก
https://www.un.org/development.desa.pd/files/undesa_pd_2020_world_population_ageing_highlights. pdf