อิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่มีต่อ ความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง

Main Article Content

สุวเพ็ญ เลิศวณิชโรจน์
ถวัลย์ เนียมทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง 2) อิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานระดับปฏิบัติการที่ทำงานอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 203 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง มีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบด้านการมีสติ ด้านอ่อนน้อม ด้านแสดงออก และด้านเปิดรับประสบการณ์อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านหวั่นไหวอยู่ในระดับปานกลาง 2) พนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งมีสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง 3) พนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งมีความยึดมั่นผูกพันของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง 4) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบด้านอ่อนน้อม สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานด้านความพึงพอใจ และด้านเวลาสามารถร่วมกันพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันของพนักงานโดยรวมของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งได้ร้อยละ 61.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

บท
Research Articles

References

ภาษาไทย

ขนิดา วงษ์ประชุม. (2560). อิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่มีต่อความ

ยึดมั่นผูกพันของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). เรื่องลักษณะบุคลิกภาพที่พยากรณ์พฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงาน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

รุ่งโรจน์ อรรถานิทธิ์. (2554). Employee Engagement การสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร. กรุงเทพมหานคร :

หจก. บ้านหนังสือโกสินทร์.

พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. (2557). การพัฒนาบุคลิกภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิภาพร มาพบสุข. (2546). จิตวิทยาการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด

สามลดา.

อภิญญา หิรัญวงษ์. (2561). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 01475511 (สถิติประยุกต์ทางจิตวิทยา). ภาควิชาจิตวิทยา

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (อัดสำเนา).

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตกับการทำงาน บรรยากาศความปลอดภัยในการ

ทำงาน กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ภาษาอังกฤษ

Aon Hewitt Ltd. (2015). 2015 Trends in Global Employee Engagement. Retrieved from http://www.aon.com/ attachments/human-capital-consulting/2015-Trends-in-Global-Employee-Engagement-Report

Greenhaus, J. H., Colins. K. M. and Shaw. J. D. (2003). The relation between work-family balance and quality

of life. Journal of Vocational Behavior, 63(3), 510-531.

Digman, J. (1990). Personality structure : Emergence of The Five – Factor Model. Retrieved from

https://www.annualreviews.org/doi/10.1146/annurev.ps.41.020190.002221

Howard, P. J. & Howard. J. M. (1995). The Big Five Quickstart: An Introduction to The-Five Factor Model

of Personality for Human Resource Professionals. Retrieved February 20, 2020, from

http://www.eric.ed.gov

Hudson, D. (2005). The Case for Work/Life Balance: Closing the Gap Between Policy and Practice.

New York : Hudson Highland Group.

Mario, F. T. (2014). Pearson New International Edition Elementary Statistics. (12th ed.). Harlow :

Edinburgh Gate.

Stevens, J., J. Brown & Lee. C. (2004). Employment Relations Research Series No. 22 The Second Work-

Life Balance Study : Results from the Employee’s Survey. London : Department for Trade and

Industry.