ภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ กับจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร และ 3) ตัวพยากรณ์ระหว่างภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารระดับต้นของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครมีภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบอยู่ในระดับสูงมาก การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานอยู่ในระดับสูง 2) ภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .613 และ .563 ตามลำดับ) และ 3) ภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การสามารถร่วมกันพยากรณ์จิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 76.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ภาษาไทย
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 31).
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สามลดา.
กัลยารัตน์ ธีระนัยธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัท
วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. (2564). ประวัติธนาคาร รายงานความยั่งยืนปี 2564. สืบค้นจาก
https://www.ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.com/-/media/files/investor-relations/sustainability-
report/2021
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานแนวโน้มธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/
EconomicConditions/Pages/BLP.aspx
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5).
กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2555). ภาวะผู้นำ จิตวิญญาณในการทำงาน ผลการปฏิบัติงาน และบรรษัทภิบาล. วารสารพัฒน
บริหารศาสตร์, 52(1), 101–129.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2566). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร :
บริษัท เอเชีย ดิจิตอลการพิมพ์ จำกัด.
ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2561). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ kruinter.com.
อภิญญา หิรัญวงษ์ . (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 01475511 (สถิติประยุกต์ทางจิตวิทยา). ภาควิชาจิตวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (อัดสำเนา).
ภาษาอังกฤษ
Baloch, B. K., Beesnih, M. & Muhammad, D. (2021). Impact of servant leadership on thrive at work with
mediating effect of workplace spirituality. International Journal of Business and Management
Sciences, 2(4), 222–243.
Eisenberger, R., Fasolo, P. & Valerie, D. (1990). Perceived organizational support and employee diligence,
commitment, and innovation. Journal of Applied Psychology, 75(1), 51–59.
Khan, K. E. (2015). Impact of servant leadership on workplace spirituality : Moderating role of involvement
culture. Pakistan Journal of Science, 67(1), 109–113.
Naidoo, M. (2014). The potential of spiritual leadership in workplace spirituality. Koers – Bulletin for
Christian Scholarship, 79(2), 1–8.
Rhoades, L. & Eisenberger, R. (2002). Perceived organizational support: A review of the literature. Journal
of Applied Psychology, 87(4), 698–714.
Riaudeen S. & Singh, P. (2021). Leadership effectiveness and psychological well-being : The role of
workplace spirituality. Journal of Human Values, 27(2), 109–125.
Richard, C. (2012). The impact of organizational support on work spirituality, organizational citizenship
behavior and job performance : The case of Zimbabwe’s small and medium enterprises (SME) sector.
African Journal of Business Management, 6(36), 10003–10014.
Robbins, S. P. & Judge, T. A. (2013). Organizational Behavior. (15th ed.). New Jersey : Prentice-Hall, Inc.
Talat, I. (2019). Workplace spirituality in south asian context : The role of learning culture, organizational
support and knowledge sharing. A Research Journal of South Asian Studies, 34(1), 195–212.